ฟังเขามาพูด
"ส่วนคำถามเรื่องจริยธรรมว่าเหมาะสมหรือไม่นั้น ผมไม่ได้รับมอบหมายให้มาพูดเรื่องนี้ บอกได้แต่เพียงว่า การซื้อขายครั้งนี้ไม่มีภาษี เรื่องอื่นนั้น อยู่นอกขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย" สุวรรณ วลัยเสถียร
"เราไม่สามารถที่จะไปตีความได้ว่ามีความผิดด้านจริยธรรมหรือไม่ ต้องวัดกันที่ตัวบทกฎหมาย" ทนง พิทยะ
ก็อธิบายกันไปแล้วครับ ไม่น่าเชื่อครับ ลงล็อกเป๊ะๆ ไม่มีอะไรผิดเลย แต่ก็ต้องรอให้กลต.ตรวจกันต่อละครับ ว่าไอ้ที่กล่าวอ้างเรื่องระยะเวลา และสัดส่วนการถือหุ้นเนี่ย มีหลักฐานถูกต้องหรือเปล่า...แต่เรื่องงี้แก้กันไม่ยากครับ กระเป๋าเดียวกัน กรอกผิดก็ขอกรอกใหม่ เมืองไทยสบายๆอยู่แล้ว
เรื่องจ่าย-ไม่จ่ายภาษีตอนขาย นี่ผมไม่ติดใจอะไรครับ เพราะมันเป็น rule of the game ที่เมืองไทยไม่คิดจะเก็บภาษีจากกำไรการขายหลักทรัพย์ ถ้าคิดจะเก็บภาษีตอนเขากำไร กรมสรรพากรก็ต้องยอมให้คนไทยเครดิตภาษีคืนตอนเขาขาดทุนหุ้น ถ้าอยากจะเปลี่ยนก็คงได้ แต่คงต้องศึกษากันนิดนึงว่า มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี และแรงจูงใจในการระดมทุนขนาดไหน...
แต่ที่ผมติดใจอยู่นิดนึงคือ คือการโอนหุ้นให้พี่ชายคุณหญิงพจมาน (ต้องยอมรับครับว่าท่านนายกมีลูกช้าและน้อยไปหน่อย ไม่งั้นคงไม่มีปัญหานี้) ผมได้ยินว่ากรมสรรพากรตีความว่าเป็นการให้โดยเสน่หาฯ เลยไม่ต้องนับรวมเป็นเงินได้ ก็เถียงกันได้ครับ
มาตรา 42 ตามประมวลรัษฎากรบอกไว้ว่างี้ครับ "เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้..." หนึ่งในนั้นคือ "(10) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี"
แต่ผมสงสัยว่าขนบธรรมเนียมประเพณีไทยข้อไหนบอกว่าต้องยกหุ้นให้พี่เมียเหรอครับ?
คงไม่ต้องประกาศเป็นวันพี่เมียแห่งชาตินะครับ....
5 Comments:
ไม่รู้คุณ kickoman ได้มีโอากาสฟัง (อ่าน) คำแถลงของกรมสรรพากรหรือยังอ่ะนะครับ
วันนี้ผมฟังเค้าแถลงในระหว่างขับรถกลับจากออฟฟิซลูกค้า ขับรถไปฟังไป เล่นเอามึนหัวตึ้บ เกือบเลยทางเข้าออฟฟิซตัวเองทีเดียวเชียวล่ะ
เรื่อง "ให้โดยเสน่หา" นี่ไม่ได้ยินเค้าแถลงตรงๆนะครับ ที่ได้ยินเป็นการแถลงในประเด็น "ได้หุ้นมาถูกกว่าราคาพึงประเมิน"
ฟังแล้วปวดกบาลมาก (ผมว่าฟังการ shift up / shift down ของเส้น IS-LM ยังง่ายกว่ามากนัก .. ฮ่า) ไหนจะอ้างมาตรา 1 ซึ่งก็อ้างไปต่อที่ 2 และต้องไปอ่านบทขยายที่ 3 อีกทีหนึ่ง
เอาเป็นว่าสรุปรวบยอดได้ว่า หากไล่เรียงอ่านกฏหมายเหมือนที่กรมสรรพากรอ่านแล้วละก็ การรับหุ้นจาก Ample Rich ในราคา 1 บาท แล้วนำไปขายต่อในอีก 3 วันต่อมาในราคา 40 กว่าบาทเนี่ย ไม่มีภาระทางภาษีครับ
(ต้องใช้คำให้เหมือนกับ ดร. สุวรรณ นะครับ คือ "ไม่มีภาระภาษี" ไม่ใช่ไม่เสียภาษี .. อันที่จริงอยากเสียภาษีให้ประเทศใจจะขาด แต่ทำไงได้ล่ะในเมื่อมันไม่มีภาระทางภาษีให้เสีย)
ประเด็นที่ผมคิดว่ายังไม่ clear ในตอนนี้คือกรณีที่คุณ พ. ถือหุ้นเกิน 25% หลังจากเป็นเจ้าของ ample rich แล้วน่ะครับ วันนี้ กลต. แถลงแปลกๆ ประมาณว่าอาจจะผิดก็ได้ ต้องตรวจสอบต่อ ประมาณนี้
อ๋อ ถ้าซื้อหุ้นมาแล้วขายได้กำไร ไม่มีภาษี ผมค่อยไม่ติดใจประเด็นนั้นเท่าไร เพราะกำไรจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่ต้องเอามานับเป็นรายได้อยู่แล้วครับ (ประมวลรัษฏากรบอกว่า รายได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ไม่นับเป็นรายได้ ถ้าได้หุ้นมาจากนอกตลาดแต่มาขายในตลาดผมก็เข้าใจว่ายกเว้นนะครับ หมิ่นเหม่นิดนึง แต่ก็คงเอาสีข้างถูไปได้)
แต่ตอนที่โอนหุ้นให้พี่เมียเมื่อหลายปีก่อนนั่นสิครับ มันหมิ่นเหม่กว่าอีกครับ
ซึ่งตรงนี้ผมว่าต้องแยกเป็นสองประเด็น
ประเด็นแรก คือ จะนับการได้รับโอนหุ้นมา เป็นเงินได้พึงประเมินหรือเปล่า จะรับมาราคาถูกกว่าราคาพึงประเมินหรือเปล่าผมไม่สนครับ แต่ยังไงก็ได้ของมาต้องถือเป็นเงินได้ไว้ก่อน
แต่ถ้ามันเข้าข่ายเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนับรวมเป็นเงินได้พึงประเมิน (เช่นการให้โดยเสน่หา) ก็ไม่ต้องนับ ไม่ว่ากัน
ถ้าไม่นับหุ้นเป็นรายได้พึงประเมินนะ วันหลังผมทำงานไม่รับตังค์เลย ขอรับเป็นหุ้นอย่างเดียว (หรือไม่ก็ขอซื้อหุ้นต่ำกว่าทุนเยอะๆ) จะได้ไม่ต้องเสียภาษี
ทีนี้ ประเด็นสอง คือถ้าได้รับโอนหุ้นไม่ได้รับยกเว้น ก็ต้องเอาไปคำนวนรายได้พึงประเมิน จะนับตรงไหนเป็นรายได้ดีละ เพราะได้รับโอน (คือซื้อ) ราคาต่ำกว่าตลาด ควรจะเอาส่วนต่างระหว่างราคาซื้อมากับราคาขณะนั้น หรือเอาส่วนต่างระหว่างราคาที่ซื้อมากับราคาขายดี
ส่วนที่โอนให้ลูกนั่นสบายๆครับ เข้าข่ายให้โดยเสน่หาได้แน่
นักกฎหมายครับ ผมเข้าใจถูกเปล่าครับ
ทีนี้เรื่องถือหุ้นเกิน 25% เนี่ย กฎ กลต. เขาบอกว่า ถ้า มันผู้ใด รวมกับบุคคลอื่นตามมาตราอะไรสักอย่าง ซึ่งรวมถึง คู่สมรส และบริษัทที่มันผู้นั้นเป็นเข้าของ ได้มาซึ่งหุ้นเกินทุก 5 เปอร์เซนต์ ต้องแจ้งตลาด
ถ้าเกิน 25% ถือว่าเข้าข่ายเสนอซื้อเพื่อเข้าครอบงำกิจการ กลต. เขาบังคับให้ต้องทำคำเสนอซื้อ (tender offer) กับผู้ถือหุ้นทั่วไป เพื่อรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นรายย่อย
ไม่งั้นวันดีคืนดี มีคนแอบทยอยเก็บหุ้น แล้วเอาหุ้นออกนอกตลาดไปไม่บอกไม่กล่าว หุ้นจะหมดค่าไปเปล่าๆ ผู้ถือหุ้นรายย่อยจะไม่มีทางเลือก
จำได้ไหมครับ ตอนที่คุณขรรค์ชัย ซื้อหุ้นมติชนคืนจากอากู๋ ก็ต้องทำ tender offer
ที่ผมเข้าใจคือ ตามที่คุณสุวรรณแกแถลงเนี่ย กลต. สงสัยว่า ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (รู้สึกว่าจะเมื่อปี 2544 หรือไงเนี่ย ไม่ใช่เพิ่งจะเกินนะครับ) หุ้นที่คุณพานทองแท้ถือ รวมกับ ของ Ample Rich ซึ่งคุณพานทองแกเป็นเจ้าของด้วย ซึ่งต้องนับรวมตามกฎกลต. ต้องเคยถือหุ้นเกิน 25% แน่ แต่ไม่เคยแจ้งกลต.เลย เพราะงั้นสงสัยจะผิดแน่ๆ
แต่ผมได้ยินมาว่า ถ้าผิดประเด็นนี้เด็กๆครับ โดนปรับแค่วันละหมื่น รวมแล้ว 22 ล้านเอง แกเอาเงิน 73,000 ล้านไปฝากธนาคาร นั่งแคะขี้มูกอยู่บ้านสักสองวันก็ได้มาจ่ายค่าปรับแล้ว หมูๆ
โทษจริงๆ ติดคุก แต่กลต. ยังไม่เคยเอาใครเข้าซังเตสักคน...
เออ ... อ่านคำว่า "เอาเงิน 73,000 ล้านไปฝากธนาคาร นั่งแคะขี้มูกอยู่บ้านสักสองวัน" แล้วนึกสงสัยเล่นๆว่า ตกลงไอ้เงินมหาศาลขนาดนี้เนี่ย เค้าจ่ายเงินกันอย่างไรหรือครับ ? เห็นว่าสรุปแล้วเป็นขายขาด ไม่ใช่ทำการ swap หุ้น นี่หว่า
วันก่อนเห็นหม่อมอุ๋ยบอกว่า ไม่ได้มีการโอนเงินมาจ่ายกันในประเทศ แต่ใช้วิธีการ Book Keeping
Kickoman จะช่วยแถลงไขหน่อยได้ไหมว่าไอ้ Book Keeping มันคืออะไรฤา ??
ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ
แต่ถ้ามั่วตามที่ผมเข้าใจคือหม่อมอุ๋ย อ้างถึงการขายหุ้นในส่วนที่ Ample Rich ถืออยู่นะครับ เพราะว่าเจ้าของ Ample Rich กับคนที่ขายหุ้นให้ Temasek เป็นคนคนเดียวกัน เพราะงั้น ไอ้ transaction ระหว่าง Ample Rich กับคุณพานฯ กะคุณแพรฯไม่ได้แลกหุ้นกับเงินกันจริงๆ แต่ทำเป็น book keeping (หรือทำกันทางบัญชี)คือแค่โอนหุ้นในกระดาษไปให้ temasek แล้วให้ temasek โอนส่วนที่ต้องจ่ายให้ส่วนนั้น ไป Ample Rich เลย เพราะงั้นเงินส่วนนั้นไม่ต้องเข้าประเทศ
แต่ผมไม่แน่ใจว่าส่วนที่เหลือทำแบบนี้ด้วยเปล่า ไม่แน่ใจว่าตอน clearing เขาต้องเห็นเงินเข้ามาจ่ายจริงๆหรือเปล่า
ซึ่งจริงๆแล้วก็คงทำได้ทั้ง 73,000 ล้านแหละครับ คือเอาเงินไปจ่าย Ample Rich ให้หมดเลยก็ได้ เงินไม่ต้องเข้าประเทศเลย เพราะกระเป๋าเดียวกันหมด
จากปากคำของนายก ...การขายหุ้นไม่ใช่ขายขนมเข่ง
เพราะฉนั้น มันต้องใช้เวลาหาคนซื้อ ใช้เวลาทำข้อตกลงกันนาน..
และต้องมีการนัดแนะกันอย่างดี ที่จะเข้าไปซื้อล็อตใหญ่ ในวันและเวลาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า
ซึ่งนายก ย่อมรู้ล่วงหน้าว่า ณ วันหนึ่ง จะมีเงินดอลล่าร์ จำนวนหลายพันล้านไหลเข้ามาในประเทศ เงินมากขนาดนี้ เพียงพอที่จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งได้
คุณคิดว่า บรุษผู้ไม่เคยละเลยโอกาส สร้างความมั่งคั่งให้กับตนเอง จะทำอะไรบ้างล่ะครับ ถ้าเขารู้ล่วงหน้าถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาท ในอนาคต
Post a Comment
<< Home