Thursday, January 05, 2006

Index of Economic Freedom?


วันนี้เพิ่งเห็นว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจออกใหม่ครับ เป็นดัชนีชี้วัดความเสรีภาพทางเศรษฐกิจ (index of economic freedom) ที่น่าสนใจคือเขามีการเปรียบเทียบให้ดูแต่ละประเทศเสียด้วย ว่าประเทศไหน "เสรี" กว่าใคร

เขาวัด "เสรีภาพทางเศรษฐกิจ" โดยพิจารณาจากเครื่องชี้วัด "เสรีภาพ" ห้าสิบตัว ในสิบด้าน คือ นโยบายการค้า ภาระทางภาษี การแทรกแซงของรัฐ นโยบายการเงิน การลงทุนจากต่างประเทศ ภาคการธนาคาร การตั้งราคาสินค้าและค่าจ้าง การปกป้องสิทธิในทรัพย์สิน กฎระเบียบต่างๆ และ informal economic activities (แปลว่าอะไรหว่า...) แล้วก็ให้คะแนน 1-4 ในแต่ละด้าน คือถ้าเสรีมากก็ได้แต้มน้อย ถ้าเสรีน้อยได้แต้มมาก แล้วก็เอามาเฉลี่ยกัน ใครสนใจไปอ่าน methodology ของเขาได้นะครับ

ใครสนใจไปดูได้ที่นี่ครับ link เข้าไปแล้วกดดูรายประเทศได้เลยครับ ว่าทำไมถึงได้คะแนนแบบนี้ เช่นของ เมืองไทย (บอกไว้ก่อนว่าคะแนนยิ่งน้อย ยิ่งดีนะครับ)

จะเห็นได้ว่า คะแนนเมืองไทยลดฮวบฮาบ มาตั้งแต่ปี 2001 และหล่นจากอันดับ 32 มาอยู่ที่อันดับที่ "72" ในปีนี้ครับ (ปีที่แล้วแย่กว่าอีกครับ อยู่อันดับ 78) อยู่เกือบอันดับสุดท้ายในกลุ่ม "mostly free" เกือบหลุดไป "mostly unfree" แล้วนะเนี่ย

ถ้าดูกันรายกลุ่มจะพบว่า ด้านที่ทำให้เมืองไทย "แย่ลง" ในช่วง 4-5 ปีนี้ คือเสรีภาพทางด้านการลงทุนจากต่างประเทศ การตั้งราคาสินค้าและค่าจ้าง และการปกป้องสิทธิในทรัพย์สิน (ผมไม่รู้จริงๆครับ ว่าอะไรเปลี่ยนไป ทำให้คะแนนแย่ลง เพราะเข้าใจว่าสิ่งที่เขาวิจารณ์เช่น ห้ามนักลงทุนต่างชาติถือครองที่ดิน ฯลฯ ก็เป็นแบบนี้มาตั้งนานแล้ว) ฮึมม...ก็ลองเข้าไปดูกันแล้วกันครับ มีคะแนนดิบให้ดูกันเล่นๆด้วย

แต่ก็คงรู้ๆกันอยู่ละครับว่า การวัดแบบนี้ไม่มีทางสมบูรณ์แบบได้ เพราะมันค่อนข้าง subjective และหลายคนมีความเห็นที่ต่างไปแน่ๆ (เช่นทำไม้ ทำไม ไทยถึงเสรีน้อยกว่ากัมพูชา!) ก็วิจารณ์กันได้ครับ แต่ผมว่าเราไม่ควรจะตีความหมายว่า ถ้ามี "เสรีภาพทางเศรษฐกิจ" มาก จะ "ดี" เสมอไปนะครับ เพราะมันอาจไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการดำรงชีวิตของคนในประเทศเลยก็ได้

แต่ก็มันก็เป็นเหมือนกระจกส่องให้เรารู้ว่า "เสรีภาพทางเศรษฐกิจ" ของเราเป็นอย่างไรในสายตาคนภายนอกบางคน และเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น

ยังไง ยังไง ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคะแนนถึงตกต่ำในช่วงท่านผู้นำมาเป็นนายกน้า...

9 Comments:

At 1:21 PM, Blogger Saruj said...

วันนี้ข่าวนี้ "ดัง" ในไทยเหมือนกันนะ
แต่ผมขี้เกียจตามข่าว เพราะโดยส่วนตัวไม่เชื่ออยู่แล้วว่า "เสรีมาก" แล้วเศรษฐกิจจะดีจริง




พูดถึงเรื่องการตั้งราคาสินค้า
วันนี้บ้านเรามี "เรื่อง" เกี่ยวกับ "ตลาดน้ำตาล" พอดีเลย
ไม่ทราบว่าคุณ kickoman มีมุมมองอะไรบ้างไหมกับเรื่องนี้

ปล่อยใ้ห้กลไกตลาดทำงานอย่าง "เสรี" ..
หรือควบคุมน้ำตาลให้เป็นสินค้าควบคุมไว้เหมือนเดิม แต่ไปจัดการไม่ให้มีคนหา free profit แทนดีกว่า ?



อ้อ ... สวัสดีปีใหม่ด้วยนะ :-)

 
At 6:05 PM, Blogger kickoman said...

หุหุ ข่าวนี้มีในเมืองไทยด้วยเหรอ

สำหรับเรื่อง อ้อย-น้ำตาล นี่เป็นเรื่องมายาวนานแล้วครับ และก็เป็นประเด็นการเมืองขึ้นมาอยู่บ่อยๆ ผมว่าเพราะคนปลูกอ้อยอยู่ใกล้กรุงเทพครับและสามารถรวมตัวกันได้มากกว่าชาวไร่ประเภทอื่นๆ สมัยก่อนเราเลยได้ยินข่าวชาวไร่อ้อยยกสิบล้อมาปิดทางหลวงอยู่เนืองๆ

แต่เชื่อไหมละครับ ว่าเมืองไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับต้นๆของโลกเลยทีเดียว

ผมว่าปัญหานี้แก้ยากครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นแบบเดียวกับปัญหาราคาน้ำมันเอา เพราะสุดท้ายแล้วปัญหาคือว่าใครจะยอมรับความเสี่ยงกันได้ขนาดไหน

ขอลองอธิบายแบบที่ผมเข้าใจแล้วกันนะครับ หากจะผิดไปบ้างก็ขออภัย

สมัยก่อนนี้ ราคาน้ำตาลทรายในโลกค่อนข้างต่ำ เพราะประเทศอื่น (โดยเฉพาะยุโรป) ให้การอุดหนุนเกษตรกร และประสิทธิภาพการผลิตของชาวไร่อ้อยไทยสู้ประเทศอื่น (เช่นบราซิล) ไม่ได้ เพราะเขาเล่นปลูกกันเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ยักษ์ มีการเอาเครื่องจักรเข้าไปใช้ ทำให้ต้นทุนเขาต่ำกว่าเราเยอะ

เขาก็เลยหาระบบมาช่วยอุดหนุนชาวไร่อ้อย โดยตั้งกำแพงภาษีน้ำตาลในประเทศ ให้ราคาในประเทศสูงกว่านอกประเทศ และใช้ระบบโควต้า ไม่ให้ผลผลิตอ้อยล้นตลาด จะมีการประมาณก่อนว่าความต้องการอ้อยในประเทศปีนั้นมีเท่าไร แล้วใครได้โควต้าปลูกเพื่อขายในประเทศเท่าไร และที่เหลือปลูกเพื่อการส่งออก (ซึ่งได้สมัยนั้นได้ราคาต่ำกว่า) เท่าไร

นอกจากนี้ยังมีระบบอุดหนุนราคาอ้อย ไม่ให้ต่ำเกินไปอีกด้วย

ผลก็คือราคาน้ำตาลในประเทศนิ่งมากครับ ผมจำได้ว่าสมัยก่อนวิ่งไปตลาดทีไรก็ น้ำตาลก็กิโลละ 13 บาทหรือไงเนี่ย (ไม่รู้ตอนนี้เท่าไรแล้ว ไม่ได้ซื้อน้ำตาลหลายปีแล้วครับ) และผู้บริโภคซื้อน้ำตาลในราคาสูงกว่าตลาดโลกมาตลอด เพื่อไปอุดหนุนให้ชาวไร่อ้อยอยู่ได้

ระบบนี้ก็อยู่ได้มาหลายปีครับ มีกระทบกระทั่งกันบ้าง เพราะรัฐเป็นผู้กำหนดราคาอ้อยขั้นต่ำ และชาวไร่ก็อยากได้สูงขึ้น

แต่พอราคาน้ำตาลในตลาดโลกสูงขึ้น (เข้าใจว่าเพราะมีการลดการอุดหนุนตามกฎ WTO และมีการนำอ้อยไปผลิตเอธานอล เพราะราคาน้ำมันสูงเป็นเวลานาน) ระบบนี้ก็เริ่มมีปัญหาครับ เพราะเอาพ่อค้าเริ่มน้ำตาลโควต้าในประเทศไปขายนอกประเทศ เพราะได้ราคาสูงกว่า ทำให้น้ำตาลในประเทศขาดแคลน

ประกอบกับชาวไร่อ้อยบ่นปวดหัว เพราะต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และผลผลิตเริ่มลดลง (คงเพราะมีคนเลิกปลูกอ้อย หันไปทำอย่างอื่นแทน)

ทีนี้รัฐเลยมึน ชาวไร่อ้อยขอเพิ่มราคาอ้อยขั้นต่ำ แต่จะขึ้นราคาน้ำตาลก็ไม่ได้ เพราะกระทรวงพาณิชย์คุมแจ และเงินมาอุดหนุนก็ไม่มีเพราะกู้มาเยอะแล้ว

ระบบแบบนี้คงคล้ายๆกับตอนที่รัฐไปอุดหนุนราคาน้ำมันแหละครับ คือต้องยอมรับว่าราคาสินค้ามีขึ้นมีลง แต่คนผลิตและคนบริโภคจะยอมให้ราคาขึ้นลงได้มากขนาดไหน

ถ้ารัฐตัดสินใจเข้าไปรับความเสี่ยงแทน ต้องอย่าลืมว่ารัฐมีทรัพยากรจำกัดนะครับ คงจะเข้าไปแบกอาการขาดทุนได้ไม่ตลอด

ทีนี้คงต้องถามว่า ทางเลือกคืออะไร ถ้ารัฐจะไม่แทรกแซงแล้ว ถ้าปล่อยให้ราคาลอยตัว ผู้บริโภคอาจจะได้บริโภคน้ำตาลในราคาถูกลง (แต่ไม่มีอะไรมารับประกันนะครับ ว่าราคาตลาดโลกจะกลับไปถูกเหมือนเมื่อก่อน) แต่ก็จะต้องรับภาระความเสี่ยงในราคาน้ำตาลที่ขึ้นๆลงๆ

แต่คนที่แย่กว่าคือชาวไร่อ้อยครับ เพราะไม่มีการประกันความเสี่ยง การตัดสินใจปลูกอ้อยคงเหมือนเล่นการพนันครับ คือลงทุนปลูกไปแล้วไม่รู้ว่ารอบนี้จะขาดทุนหรือกำไร (แต่การประกันความเสี่ยงก็ทำได้โดย financial contract เช่น ไปซื้อสัญญาขายล่วงหน้าเป็นต้น)

แต่ถึงประกันความเสี่ยงทางราคาได้ ชาวไร่ก็ยังลำบากอยู่ดีครับ เพราะมีความเสี่ยงเรื่องการผลิต และถ้าปีไหนหยุดปลูกคงแปลกๆเหมือนกันครับ เพราะไม่รู้จะทำอะไรกับไร่เปล่าและรถบรรทุกดี

ก็งี้แหละครับ กลับไปคำถามที่ถามตั้งแต่ตอนแรก ว่าใครจะเป็นผู้รับความเสี่ยง เพราะรัฐไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ตลอดไป

หูย ยาว อ่านแล้วมึนๆงงๆไหมครับ

 
At 5:56 AM, Anonymous Anonymous said...

อืมมม

อ่านแล้วไม่งง
ได้ความรู้ดีมาก ประหยัดเวลาไล่อ่านรายละเอียดปลีกย่อยไปได้เยอะเลย ... เอิ๊กๆ :-P


จากเท่าที่อ่านดู
หากมีการนำเอา forward contract มาใช้จริงๆ อย่างน้อยน่าจะช่วยเรื่อง market risk ไปได้บ้างใช่ไหม ?




อืมมม
หลังจากย้อนไปอ่านอีกรอบนึง
รู้สึกว่าโครงสร้างแบบนี้มันบิดเบี้ยวกว่าตลาดน้ำมันตั้งเยอะนี่หว่า ?

น้ำมัน มันยังมีขึ้นลงตามตลาดโลก ... นิ

 
At 11:32 AM, Blogger kickoman said...

สิ่งที่สำคัญพอๆกัน คือจะทำไงให้ต้นทุนการผลิตของเราสู้ประเทศยักษ์ใหญ่ อย่างบราซิลหรือออสเตรเลียได้

ซื่งถ้าเราจะตามวิธีการพัฒนาของเขา ก็คือเอาเครื่องจักรเข้ามาช่วย ซึ่งต้องอาศัยการผลิตใน scale ที่ใหญ่มากและใช้การลงทุนสูง

แต่วิธีนี้อาจจะไม่เหมาะสมกับประเทศไทย ที่ค่าแรงยังถูกกว่าเครื่องจักรอยู่ (แต่ก็แพงขึ้นเรื่อยๆแล้ว) และชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่เป็นรายย่อย คงไม่มีนายทุนคนไหนกล้าลงทุนไล่ซื้อไร่อ้อยมาพัฒนาแน่ๆ ถ้ายังคงโดนระบบโควต้าจำกัดอยู่ ถึงทำได้ชาวไร่อ้อยคงไม่ชอบแน่ๆ

=)

 
At 4:19 PM, Blogger kickoman said...

เอ ผมเข้าใจว่า เงินประเทศเรามันไม่ outflow นะครับ มันน่าจะไหลเข้ามากกว่า

เบียร์ช้างไประดมทุนที่สิงคโปร์ กับชินคอร์ปขายหุ้น ก็มีผลคล้ายๆกันครับ คือ net foreign asset ของประเทศเพิ่มขึ้น (เช่น บ.ไทยเบฟ ได้เงินเป็นสกุลดอลลาร์สิงคโปร์ ต้องเอาเงินตราต่างประเทศมาแลกกับธนาคารฯเป็นเงินบาทเพื่อเอาไปใช้ หรือเทมาเส็กเอาเงินสิงคโปร์มาแลกเป็นเงินบาท เพื่อเอาไปจ่ายค่าหุ้นให้กับพานทองแท้)

ค่าเงินบาทเราก็เลยแข็งขึ้นครับ เพราะมีความต้องการได้เงินบาทมากกว่าความต้องการขายเงินบาท

ผมคิดว่างั้นนะครับ...

 
At 2:49 AM, Anonymous Anonymous said...

World of Warcraft power leveling wow power leveling,wow power levelingisan online role-playing experience set in the award-winninguniverse.wow gold,wow power leveling Players assume the roles of wow power leveling heroes as they explore, wow gold,wow gold,WoW Goldadventure,and quest across a vast world. is a
"Massively Multiplayer Online Role Playing Game" WoW Gold,wow gold,wow power leveling.wow power levelingwhich allows thousands of players to
interact within the same world. Whether adventuring together or fighting against each
other in epic battlesplayers will form friendships, wow power leveling,wow power leveling,wow power levelingwow powerlevelingforge alliances,and compete with enemies for power leveling and glory.wow gold,wow gold,wow gold,wow gold,wow gold,wow gold,wow gold,buy wow gold As a wow power leveling online game, enables thousands of players to come together online and battle against theand each other. Cheap WoW Gold,Cheap WoW Gold,cheap wow gold,cheap wow gold,World Of Warcraft gold,Players from across the globe can leave the real world behind and undertake grand quests and heroic exploits in a land of fantastic adventure. world of warcraft gold,world of warcraft gold,world of warcraft gold,Unlike other cheap opponents. cheap wow gold,buy wow gold,Below are some features found in wow powerleveling

 
At 1:23 AM, Blogger chenlili said...

longchamp handbags
jordans
adidas stan smith shoes
nfl jerseys wholesale
michael kors outlet
doudoune canada goose
uggs outlet
canada goose jackets
michael kors outlet
prada handbags
20181.5chenjinyan

 
At 2:47 AM, Blogger Unknown said...

thomas sabo uk
vans outlet
salomon boots
moncler outlet
timberland boots
guess canada
north face soldes
supra shoes
ray ban
bijoux swarovski
2018.3.10chenlixiang

 
At 3:14 AM, Anonymous Obat Penghancur Batu Ginjal said...

This article is interesting and useful. Thank you for sharing. And let me share an article about health that God willing will be very useful. Thank you :)

Obat Sakit Mata Belekan Alami
Cara Mengatasi Diare
Obat Sariawan Alami
Cara Menghilangkan Varises
Obat Sakit perut melilit paling Ampuh
Cara Mudah Menghilangkan Keloid

 

Post a Comment

<< Home