Wednesday, October 26, 2005

ข้อสอบกลางภาค หลักเศรษฐศาสตร์ 2

เอ้า นักศึกษา เข้าห้องสอบได้แล้วครับ วันนี้มีคำถามมาถามท่านนักเศรษฐศาสตร์ และไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย

ถ้าท่านเป็นผู้กำหนดนโยบาย (ไม่ต้องเป็นรัฐมนตรีคลัง หรือผู้ว่าแบงค์ชาติก็ได้นะครับ เป็นนายกฯก็ได้) ของประเทศกำลังพัฒนาประเทศหนึ่ง ประเทศของท่านใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เงินตราไหลเข้าออกประเทศได้สบายๆ และประเทศของท่านก็กำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุน ทุนนอกไหลเข้าแบบสนุกสนาน(คิดถึงประเทศเอเชียก่อนวิกฤตไว้ครับ)

ด้วยความที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาแบบร้อนแรง การบริโภคและการลงทุนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การนำเข้าก็สูงขึ้น (ทั้งการนำเข้าสินค้าบริโภค และสินค้าวัตถุดิบ) แต่การส่งออกเริ่มแย่ลง เพราะค่าแรงงานของประเทศท่านเริ่มสูง ความสามารถทางการแข่งขันเริ่มสู้ประเทศแรงงานถูกไม่ได้ซะแล้ว ส่งผลให้ทุนบัญชีเดินสะพัดของประเทศของท่านขาดดุลแบบน่ากลัว (เอาแบบมากกว่าร้อยละสิบของผลผลิตมวลรวมประชาชาติเลย)

ด้วยความจำเป็นบางประการ คุณไม่สามารถใช้นโยบายปิดกันทุนนอกได้ นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนก็เปลี่ยนไม่ได้ ต้องคงค่าไว้อย่างนั้น

คำถามข้อแรก...ในฐานะที่คุณเป็นรัฐบาล คุณจะทำอย่างไรในระยะสั้น เพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ที่อาจนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเงินได้

อ่า ใครว่างๆ ตอบคำถามข้อแรกก่อน แล้วเดี๋ยวจะมาถามคำถามข้อสองครับ

12 Comments:

At 3:36 AM, Anonymous Anonymous said...

ทำใจ... (ฮา)
เพราะผมไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เลยคร้าบบ...

 
At 4:41 AM, Blogger Bikku said...

โห...ล็อคไว้สองอันอย่างงี้ก็คงลำบากครับ คงไม่มีที่ทางให้นโยบายการเงินยืดแข้งยืดขาสักเท่าไร ถ้าคิดง่ายๆก็เหลือแต่นโยบายการคลัง

ปัญหาก็คงจะเป็นที่ว่า ราคา (i.e. inflation) ไม่รู้ว่าุ้ถ้ารัฐใช้จ่ายน้อยลง (ในบาง sector) แล้วจะช่วยมั๊ยครับ แต่นักการเมืองคงไม่ค่อยชอบแบบนี้สักเท่าำไรครับ :P

...ทว่า ปิดกั้นทุนนอกไม่ได้ แต่ควบคุมบ้างได้มั้ยครับ แบบเข้าง่ายออกยาก (เหมือนบางมหาลัย..อิอิ)

ผมมีความรู้สึกว่า ยังงั๊ยยังงัยทุนนอกก็เป็นต้นตอของปัญหา (ถ้ามันจะเกิดขึ้นนะครับ) เล่นอยู่แุถวนั้นน่าจะเซฟกว่าที่อื่น

 
At 4:45 AM, Blogger Bikku said...

โอ...แสดงว่าหนี้นอกระยะสั้นก็ต้องเยอะด้่วย(รึเปล่า)สิครับ
เป็นคำถามที่ยากจริงๆ

 
At 8:22 AM, Blogger Bikku said...

Man...you made me think all evening! In the shortrun, how about subsidizing export (but with a cutback in G-spending, so it won't affect G-Budget so much)? I was also thinking about import tarriff or some kind of a non-tariff barriers like quality control, but I'm not so sure if that's a good idea.

 
At 11:11 AM, Anonymous Anonymous said...

ขึ้นดอกเบี้ย ชะลอการบริโภค+ลงทุน ...
.
.
.
.
.
.
.
เดาเอานะ

 
At 2:18 PM, Blogger kickoman said...

กลับมาแอบตรวจข้อสอบครับ...

ผมว่ากรณีนี้ขึ้นดอกเบี้ยไม่ได้ครับ เพราะเรามี fixed exchange rate regime ถ้าขึ้นดอกเบี้ยเงินทุนยิ่งไหลเข้า และเงินทุนที่ไหลเข้าจะไปเพิ่มปริมาณเงินในระบบ กดดันทำให้ดอกเบี้ยกลับเข้าสู่ดุลภาพเดิมครับ (ไม่ได้แปลว่าดอกเบี้ยต้องเท่ากับดอกเบี้ยต่างประเทศนะครับ) สรุปแล้ว นโยบายการเงินใช้ไม่ได้ในกรณีนี้ครับ

export subsidy นี่ creative ดีครับ แต่อาจจะลำบากนิดนึงครับ เพราะเดี๋ยวนี้มีกฎ WTO และ Free Trade Agreement เต็มไปหมด ขืน subsidy แบบผิดข้อตกลงนี่โดนฟ้องเอาง่ายๆครับ เครื่องมืออีกอันนึงที่เป็นไปได้คือเก็บ import surcharge มันให้หมดเลย แต่ก็ขัดกับกฎ WTO อีกนั่นแหละครับ และยังทำให้ความสามารถในการแข่งขันของ export ลดลงอีกด้วย

อืม...เรื่องหนี้ระยะสั้น นี่อาจจะสูงหรืออาจจะต่ำก็ได้ครับ เพราะในบัญชีทุน มีวิธี finance current account deficits ได้หลายวิธี เช่น อาจเข้ามาในรูปเงินลงทุนโดยตรง (FDI) หรือ portfolio investment อื่นๆ เช่นหนี้ระยะสั้น (แบบเมืองไทยของเรา เบียร์ไทยของเรา) หนี้ระยะยาว (เช่นเข้ามาซื้อพันธบัตร) หรือลงทุนในตลาดหุ้น

อ่ะ สมมุติว่า ประเทศนี้เงินส่วนใหญ่ไหลเข้าในรูป FDI ครับ เพราะงั้น หนี้ระยะสั้นไม่สูง

คำถามข้อ 1.1 คือว่าแล้วงี้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ยังอันตรายอยู่หรือเปล่าครับ?

คำตอบอันนึงของ พี่ biggie เกือบโดนคำถามข้อที่สองที่ผมตั้งใจจะถามแล้วครับ เอาเป็นว่าใครอยากตอบคำถามข้อ 1 และข้อ 1.1 ต่อเชิญนะครับ ไว้อีกสักพักค่อยกลับมาถามข้อสอง

หนุกจัง...

kickoman @ heathrow airport =)

 
At 4:20 PM, Anonymous Anonymous said...

อืมมมมมมมมมมมมม


(( คิดๆๆๆๆๆๆ ตาม ... ))

 
At 4:32 PM, Anonymous Anonymous said...

ไปจ้างนักเศรษฐศาสตร์เก่งๆ มาระดมสมองแก้ปัญหาให้ครับ อิอิ :o)


ปล. ผมตามสรุจเข้ามาอีกทีครับ ไม่รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์อะไรกับเขาหรอกครับ ฮ่า..ฮ่า

 
At 7:33 PM, Blogger Bikku said...

อืมม...ก็คงต้องตอบว่าไม่เป็นอันตรายเท่ากับถ้าหนี้นอก
เป็นระยะสั้นมากกว่านี้ครับ(ฮาๆ ตอบแบบเหมือนไม่ตอบ)

จริงๆแล้วอยากจะบอกว่ามันไม่น่าจะอันตรายในระยะสั้น เพราะทุนนอก(FDI)ไม่น่าที่จะสามารถไหลออกอย่างรวดเร็ว
ในระยะเวลาอันสั้น..แต่ผมก็ยังไม่มั่นใจขนาดที่จะตอบฟันธง
ไปอย่างนั้นละครับ เพราะว่ามันก็ยังไม่การันตีความปลอดภัย
ในระยะยาวอยู่ดี

(ต้องไปโรงเรียนละครับ แล้วจะมาตอบต่อนะครับ)

 
At 8:22 AM, Blogger Bikku said...

ต่อนะครับ มันมีความเป็นไปได้สองทางคือ ไปรอด และไปไม่รอด ...ไอ้ไปไม่รอดไม่ต้องพูดถึง

คำถามคือ ถ้าไปรอดแล้วจะยังไงต่อ ผมคิดว่ายังไงๆก็ต้องปล่อยให้ค่าเงินแข็งขึ้นครับ(เหมือนจีน)
อยู่ที่ว่าจะให้แข็งยังไง เมื่อไหร่

เพราะำฉะนั้น อีกทางนึงก็คือ ปล่อยค่าเงินแต่ควบคุมให้อยู่ในช่วงแคบๆไปด้วยกับนโยบายอื่นๆ
อย่างน้อยจะได้ใช้นโยบายการเงินสู้กับเงินเฟ้อได้บ้าง

ไม่รู้ว่าเป็นไง...คิดไปเรื่อยๆอะครับ :P

 
At 11:09 PM, Blogger The Corgiman said...

ส่งคำตอบให้อาจารย์ Kickoman บนบล็อกผมนะครับ

 
At 8:26 PM, Anonymous Anonymous said...

ผมว่าต้องทำใจคับผม

แต่ต้องปรับตัวตามเศรษฐกิจโลกนั้นละดีที่สุดคับ

เพื่อให้ประเทศที่กำลังพัฒนาลดความเสี่ยงมากที่สุด

และผลกระทบให้มีน้อยที่สุด

เดวเศรษฐกิจก้อจะปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆๆๆคับ

 

Post a Comment

<< Home