Thursday, September 15, 2005

โฆษณาหนังสือ

เพิ่งสังเกตว่า IMF มีรายงานออกมาพร้อมๆกันสองเล่ม มีให้โหลดอ่านฟรีๆ ใครสนใจลองกดไปดูนะครับ

เล่มแรก Global Financial Stability Report เป็นหนังสือออกปีละสองครั้ง เกี่ยวกับสถานการณ์และประเด็นที่เกี่ยวกับตลาดการเงินระหว่างประเทศ เล่มนี้เพิ่งออกสดๆร้อนๆวันนี้เอง ใครสนใจเรื่องเงินๆทองๆ สถานการณ์ตลาดการเงิน อะไรคือความเสี่ยง อะไรคือแนวโน้ม ไปอ่านดูนะครับ



ส่วนอันนี้เป็น sneak preview ของ World Economic Outlook ฉบับเต็มใกล้ออกแล้วครับ ใครสนใจเรื่องเศรษฐกิจโลก Global Imbalances คืออะไร แล้วมันไม่ balance ตรงไหน Inflation Targeting คืออะไร ไม่ควรพลาด



ไหนๆโฆษณาหนังสือแล้ว ขอโฆษณาหนังสือเก่าหน่อย ใครยังไม่ได้อ่าน freakonomics ลองไปแอบๆยืนอ่านที่ร้านหนังสือดูนะครับ เล่มนี้ คุณปิ่นฯ แนะนำมาอีกที อ่านแล้วสนุกดีเหมือนกันครับ






อีกเล่มละกันครับ เพราะพอดีเพิ่งได้ฟรีมา =) "Saving Capitalism from the Capitalists: unleasing the power of financial markets to create wealth and spread opportunity" เล่มนี้เป็น reaction จากค่าย "ทุนนิยม" (หรือ ระบบตลาดเสรี) ที่ถูกโจมตีมากเหลือเกิน หนังสือเล่มนี้พูดถึงหน้าที่ของตลาด (โดยเฉพาะตลาดการเงิน) อะไรคือข้อดีของระบบนี้ และจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้ "ระบบ" นี้ ก่อให้เกิดเหตุไม่พึงประสงค์ทั้งหลาย ใครไม่พอใจระบบทุนนิยมลองอ่านดูนะครับ ว่าผู้เขียนมีเหตุผลหรือไม่อย่างไร


ตอนนี้กระแสฮุบสื่อกำลังมาแรง ได้ข่าวรัฐบาลทหารพม่าก็จะฮุบ Myanmar Times กะเขาด้วย

เขียนบลอกนี่จะโดนสั่งปิดหรือเปล่านะ หุหุ

Tuesday, September 13, 2005

ของเล่นบทเน็ท (โฆษณาชวนเชื่อ)

หลังจากเขียนบลอกแบบขี้เกียจไปสองที ด้วยการตัดแปะล้วนๆ คราวนี้ต้องกลับมาเขียนสักหน่อย

ตอนแรก พยายามจะเขียนเรื่องที่ไปเที่ยวนิวยอร์คมา แต่ด้วยความขี้เกียจประกอบกับงานยุ่ง ติดไปติดมา ทำให้ความทรงจำลบเลือน เขียนไม่ออกซะแล้ว เอาเป็นว่าใครอยากรู้ว่าไปทำไรมา ไปดูรูปแล้วกันนะครับ ที่ http://spaces.msn.com/members/kickoman05/ ว่างๆจะเอารูปมาเพิ่มอีกครับ

พอดีเพิ่งไปเจอของเล่นใหม่ครับ กำลังสนุก เลยเอามาโฆษณาสักหน่อย (ใครรู้แล้วขออภัยนะครับ)

สงสัยจังครับ ว่าท่านทั้งหลาย เวลาเปิด browser ขึ้นมา ตั้งเวบอะไรไว้เป็น homepage เหรอครับ บางคนอาจจะตั้งหน้าสโมสรฟุตบอลที่ตัวเองชอบ บางคนก็ตั้งหน้ามหาลัยตัวเองไว้ บางคนอาจจะเปิดหน้าข่าวไว้อ่านติดตามสถานการณ์ อย่าง straw hat นี่สงสัยเปิดมาเจอเวบโป๊เลย เพราะจะได้ไม่ต้องพิมพ์หลายรอบ

ผมเคยมีปัญหาครับ เพราะเปิดหน้าแรกมาทีไรก็ต้องไปเวบอื่นๆอีก เพื่อเช็คข่าว เช็คอากาศ และข้อมูลๆ เพราะหน้าแรกไม่ดีพอ

ผมไม่ค่อยเจอเวบไหนที่รวม information หลายๆอย่างแบบที่เราต้องการ พวกเวบข่าวก็มีแต่ข่าว เวบมหาลัยก็ไม่เคยเปลี่ยนเลยทั้งปี

รู้ไหมครับ ว่าเดี๋ยวนี้ เราสามารถ personalize เวบของเราเองได้ง่ายๆ

google ออก personalized google ส่วน yahoo ก็มีครับ คือ My Yahoo! นอกจากนี้ start.com ก็มี feature คล้ายๆกันครับ มี list ของ feed ให้เลือกเยอะดีด้วยครับ คาดว่าเป็นของ msn ออกมาสู้กัน เดี๋ยวนี้ศึกชิงสุดยอด web portal แข่งกันหนักครับ ใครออกอะไรมา คนอื่นก็ออกตามมาติดๆ คนเล่นเน็ทเลยสบาย ได้ของฟรี คุณภาพดีไว้ใช้กัน

ผมขอพูดถึง google อย่างเดียวละกันครับ ผมชอบเพราะมันโล่งดี อันอื่นๆก็มี feature คล้ายๆกันหมด ลองกดๆไปดูแล้วกันครับ

คนที่นิยม google อาจจะคุ้นเคยกับหน้าว่างๆ ของ google แต่เดี๋ยวนี้เราสามารถแปะหัวข้อข่าวต่างๆ ที่เราสนใจไว้ได้ในหน้าเดียว และยังสามารถ update หัวข้อข่าวพวกนั้นได้ตลอดทั้งวัน โดยอาศัยเทคโนโลยี่ RSS ขออย่างเดียวว่า คุณมี gmail account (เดี๋ยวขอฟรีได้แล้วนะครับ ไม่ต้องรอ refer แบบสมัยก่อน) และเวบที่เราต้องการนั้น มี RSS Feed เท่านั้น

RSS Feed คืออะไรเหรอครับ ลองไปอ่านดูจาก link ข้างบนดูนะครับ คร่าวๆแล้วเนี่ยมันย่อมาจาก "Really Simple Syndication" มันคือ file format ในตระกูล XML อย่างหนึ่ง เหมาะสำหรับเวบที่มีการอัพเดทอยู่เรื่อยๆ (เช่น blog, เวบข่าว, พยากรณ์อากาศ) เจ้า RSS เนี่ย ทำให้คนที่ subscribe สามารถเก็บเอาข้อมูลที่สำคัญ (เช่น หัวข้อข่าว, เนื้อเรื่องย่อ ฯลฯ) จาก entry บนเวบนั้นไปใช้ได้ (ใครใช้ safari บน mac คงเห็น feature อันนี้แล้ว)

จะสังเกตได้ว่า เวบเดี๋ยวนี้ โดยเฉพาะเวบที่มีข้อมูลเยอะๆ update บ่อยๆ จะใช้ XML และ RSS feed กันอย่างกว้างขวาง ใครเป็น guru ทางเวบ อยากเพิ่มเติมเชิญนะครับ

ใครสนใจลองไป customize google ของตัวเองดูได้ที่ www.google.com/ig แล้วลอง sign in ด้วย gmail account แล้วก็กดตรง "add content" ดู แค่นี้ก็สนุกได้แล้วครับ

ทีนี้ละครับ เราก็สามารถมีเวบ ที่รวมข้อมูลทุกอย่างที่เราต้องการไว้ในหน้าเดียว ทั้งหัวข้อข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่เราสนใจ, บทความจากนิตยสารยอดนิยม, เช็คราคาหุ้นที่เราซื้อไว้, อ่าน quote of the day, ข่าววงการลูกหนังโลก, เช็ครอบเวลาหนัง, วันนี้มี deal อะไรเด็ดๆจาก techbargains.com บ้าง, พรุ่งนี้ฝนจะตกหรือเปล่า, หรือแม้แต่ว่าวันนี้ ปิ่น ปรเมศวร์ หรือ blogger ยอดนิยมของเรา update บลอกของเขาแล้วหรือยัง!!! โดยมันจะขึ้นมาแต่หัวข้อ ถ้าเราสนใจก็แค่กดเข้าไปอ่านจากตรงนั้น

นอกจากนั้น ยังสามารถรวม link ที่เราเข้าบ่อยๆไว้ในหน้าเดียว และเรายังสามารถ โยกย้ายตำแหน่งของ feed แต่ละอันได้ตามใจชอบ

ผมว่ามันเป็น homepage ในฝันของผมจริงๆ ที่เดียวอยู่ เสียดายผมยังหาวิธีเอารูปมาลงยังไม่ได้ แหะ แหะ

โดย feed ยอดนิยมหลายๆอัน เช่น เช็คราคาหุ้น เช็คอากาศ หัวข้อข่าวจาก cnn, msnbc, reuters เขามีให้อยู่แล้วครับ แต่สำหรับ site อื่นๆที่เขาไม่ได้ให้มาครับ เราก็สามารถเพิ่มเติมเข้าไปได้เอง แต่เราต้องรู้ว่า address ของ RSS feed ที่เราต้องการน่ะ มันอยู่ที่ไหน อันนี้ไม่ยากครับ แต่ก็ไม่ได้ง่ายซะทีเดียว

เช่น สำหรับ blog ที่เก็บไว้บน blogspot address ของ RSS feed คือ bloggername.blogspot.com/atom.xml
ส่วนของ the economist คือ www.economist.com/rss/printedition/economist_printedition.xml สำหรับ print edition ดังนี้เป็นต้น

สำหรับเวบอื่นๆ ลองมองหาสัญลักษณ์ RSS ในเวบใกล้บ้านคุณ แล้วลอง add ดูนะครับ

ใครเล่นแล้ว อย่าลืม add feed จาก the onion กับ Reuters Oddly Enough ดูนะครับ ขำสุดๆอ่ะ

ใครเล่นแล้วได้ผลประการใด บอกด้วยนะครับ

Monday, September 12, 2005

CDO, synthetic CDO กะ CDS มันคืออะไรนะ

วันก่อนเขียนถึงเรื่อง risks ใน financial markets เลยพาดพิงไปถึง credit derivatives, credit default swaps, Ford, GM. พอดีวันนี้เปิด Wall Street Journal ผ่านๆ เห็นบทความนี้น่าสนใจดี เลยเอามาแปะให้อ่านกัน (ตูจะโดนฟ้องข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์หรือเปล่าหว่าเนี่ย...) ไว้ว่างๆจะมาเขียนถึงอีกทีนะครับ

How a Formula Ignited a Market

When a credit agency downgraded General Motors Corp.'s debt in May, the auto maker's securities sank. But it wasn't just holders of GM shares and bonds who felt the pain.

Like the proverbial flap of a butterfly's wings rippling into a tornado, GM's woes caused hedge funds around the world to lose hundreds of millions of dollars in other investments on behalf of wealthy individuals, institutions like university endowments -- and, via pension funds, regular folk.

All this traces back, in a sense, to a day eight years ago when a Chinese-born New York banker got to musing about love and death -- specifically, how people tend to die soon after their spouses do. Therein lies a tale of how a statistician unknown outside a small coterie of finance theorists helped change the world of investing.

The banker, David Li, came up with a computerized financial model to weigh the likelihood that a given set of corporations would default on their bond debt in quick succession. Think of it as a produce scale that not only weighs a bag of apples but estimates the chance that they'll all be rotten in a week.

The model fueled explosive growth in a market for what are known as credit derivatives: investment vehicles that are based on corporate bonds and give their owners protection against a default. This is a market that barely existed in the mid-1990s. Now it is both so gigantic -- measured in the trillions of dollars -- and so murky that it has drawn expressions of concern from several market watchers. The Federal Reserve Bank of New York has asked 14 big banks to meet with it this week about practices in the surging market.

The model Mr. Li devised helped estimate what return investors in certain credit derivatives should demand, how much they have at risk and what strategies they should employ to minimize that risk. Big investors started using the model to make trades that entailed giant bets with little or none of their money tied up. Now, hundreds of billions of dollars ride on variations of the model every day.

"David Li deserves recognition," says Darrell Duffie, a Stanford University professor who consults for banks. He "brought that innovation into the markets [and] it has facilitated dramatic growth of the credit-derivatives markets."

The problem: The scale's calibration isn't foolproof. "The most dangerous part," Mr. Li himself says of the model, "is when people believe everything coming out of it." Investors who put too much trust in it or don't understand all its subtleties may think they've eliminated their risks when they haven't.

The story of Mr. Li and the model illustrates both the promise and peril of today's increasingly sophisticated investment world. That world extends far beyond its visible tip of stocks and bonds and their reactions to earnings or economic news. In the largely invisible realm of derivatives -- investment contracts structured so their value depends on the behavior of some other thing or event -- credit derivatives play a significant and growing role. Endless trading in them makes markets more efficient and eases the flow of money into companies that can use it to grow, create jobs and perhaps spread prosperity.

But investors who use credit derivatives without fully appreciating the risks can cause much trouble for themselves and potentially also for others, by triggering a cascade of losses. The GM episode proved relatively minor, but some experts say it could have been worse. "I think this is a baby financial mania," says David Hinman, a portfolio manager at Los Angeles investment firm Ares Management LLC, referring to credit derivatives. "Like a lot of financial manias, it tends to end with some casualties."

Mr. Li, 42 years old, began his journey to this frontier of capitalist innovation three decades ago in rural China. His father, a police official, had moved the family to the countryside to escape the purges of Mao's Cultural Revolution. Most children at the young Mr. Li's school didn't go past the 10th grade, but he made it into China's university system and then on to Canada, where he collected two master's degrees and a doctorate in statistics.

In 1997 he landed on the New York trading floor of Canadian Imperial Bank of Commerce, a pioneer in the then-small market for credit derivatives. Investment banks were toying with the concept of pooling corporate bonds and selling off pieces of the pool, just as they had done with mortgages. Banks called these bond pools collateralized debt obligations.

They made bond investing less risky through diversification. Invest in one company's bonds and you could lose all. But invest in the bonds of 100 to 300 companies and one loss won't hurt so much.

The pools, however, didn't just offer diversification. They also enabled sophisticated investors to boost their potential returns by taking on a large portion of the pool's risk. Banks cut the pools into several slices, called tranches, including one that bore the bulk of the risk and several more that were progressively less risky.

Say a pool holds 100 bonds. An investor can buy the riskiest tranche. It offers by far the highest return, but also bears the first 3% of any losses the pool suffers from any defaults among its 100 bonds. The investor who buys this is betting there won't be any such losses, in return for a shot at double-digit returns.

Alternatively, an investor could buy a conservative slice, which wouldn't pay as high a return but also wouldn't face any losses unless many more of the pool's bonds default.

Investment banks, in order to figure out the rates of return at which to offer each slice of the pool, first had to estimate the likelihood that all the companies in it would go bust at once. Their fates might be tightly intertwined. For instance, if the companies were all in closely related industries, such as auto-parts suppliers, they might fall like dominoes after a catastrophic event. In that case, the riskiest slice of the pool wouldn't offer a return much different from the conservative slices, since anything that would sink two or three companies would probably sink many of them. Such a pool would have a "high default correlation."

But if a pool had a low default correlation -- a low chance of all its companies stumbling at once -- then the price gap between the riskiest slice and the less-risky slices would be wide.

This is where Mr. Li made his crucial contribution. In 1997, nobody knew how to calculate default correlations with any precision. Mr. Li's solution drew inspiration from a concept in actuarial science known as the "broken heart": People tend to die faster after the death of a beloved spouse. Some of his colleagues from academia were working on a way to predict this death correlation, something quite useful to companies that sell life insurance and joint annuities.

"Suddenly I thought that the problem I was trying to solve was exactly like the problem these guys were trying to solve," says Mr. Li. "Default is like the death of a company, so we should model this the same way we model human life."

His colleagues' work gave him the idea of using copulas: mathematical functions the colleagues had begun applying to actuarial science. Copulas help predict the likelihood of various events occurring when those events depend to some extent on one another. Among the best copulas for bond pools turned out to be one named after Carl Friedrich Gauss, a 19th-century German statistician.

Mr. Li, who had moved over to a J.P. Morgan Chase & Co. unit (he has since joined Barclays Capital PLC), published his idea in March 2000 in the Journal of Fixed Income. The model, known by traders as the Gaussian copula, was born.

"David Li's paper was kind of a watershed in this area," says Greg Gupton, senior director of research at Moody's KMV, a subsidiary of the credit-ratings firm. "It garnered a lot of attention. People saw copulas as the new thing that might illuminate a lot of the questions people had at the time."

To figure out the likelihood of defaults in a bond pool, the model uses information about the way investors are treating each bond -- how risky they're perceiving its issuer to be. The market's assessment of the default likelihood for each company, for each of the next 10 years, is encapsulated in what's called a credit curve. Banks and traders take the credit curves of all 100 companies in a pool and plug them into the model.

The model runs the data through the copula function and spits out a default correlation for the pool -- the likelihood of all of its companies defaulting on their debt at once. The correlation would be high if all the credit curves looked the same, lower if they didn't. By knowing the pool's default correlation, banks and traders can agree with one another on how much more the riskiest slice of the bond pool ought to yield than the the most conservative slice.

"That's the beauty of it," says Lisa Watkinson, who manages structured credit products at Morgan Stanley in New York. "It's the simplicity."

It's also the risk, because the model, by making it easier to create and trade collateralized debt obligations, or CDOs, has helped bring forth a slew of new products whose behavior it can predict only somewhat, not with precision. (The model is readily available to investors from investment banks.)

The biggest of these new products is something known as a synthetic CDO. It supercharges both the returns and the risks of a regular CDO. It does so by replacing the pool's bonds with credit derivatives -- specifically, with a type called credit-default swaps.

The swaps are like insurance policies. They insure against a bond default. Owners of bonds can buy credit-default swaps on their bonds to protect themselves. If the bond defaults, whoever sold the credit- default swap is in the same position as an insurer -- he has to pay up.

The price of this protection naturally varies, costing more as the perceived likelihood of default grows.

Some people buy credit-default swaps even though they don't own any bonds. They buy just because they think the swaps may rise in value. Their value will rise if the issuer of the underlying bonds starts to look shakier.

Say somebody wants default protection on $10 million of GM bonds. That investor might pay $500,000 a year to someone else for a promise to repay the bonds' face value if GM defaults. If GM later starts to look more likely to default than before, that first investor might be able to resell that one-year protection for $600,000, pocketing a $100,000 profit.

Just as investment banks pool bonds into CDOs and sell off riskier and less-risky slices, banks pool batches of credit-default swaps into synthetic CDOs and sell slices of those. Because the synthetic CDOs don't contain any actual bonds, banks can create them without going to the trouble of purchasing bonds. And the more synthetic CDOs they create, the more money the banks can earn by selling and trading them.

Synthetic CDOs have made the world of corporate credit very sexy -- a place of high risk but of high potential return with little money tied up.

Someone who invests in a synthetic CDO's riskiest slice -- agreeing to protect the pool against its first $10 million in default losses -- might receive an immediate payment of $5 million up front, plus $500,000 a year, for taking on this risk. He would get this $5 million without investing a dime, just for his pledge to pay in case of a default, much like what an insurance company does. Some investors, to prove they can pay if there is a default, might have to put up some collateral, but even then it would be only 15% or so of the amount they're on the hook for, or $1.5 million in this example.

This setup makes such an investment very tempting for many hedge- fund managers. "If you're a new hedge fund starting out, selling protection on the [riskiest] tranche and getting a huge payment up front is certainly something that's going to attract your attention," says Mr. Hinman of Ares Management. It's especially tempting given that a hedge fund's manager typically gets to keep 20% of the fund's winnings each year.

Synthetic CDOs are booming, and largely displacing the old-fashioned kind. Whereas four years ago, synthetic CDOs insured less than the equivalent of $400 billion face amount of U.S. corporate bonds, they will cover $2 trillion by the end of this year, J.P. Morgan Chase estimates. The whole U.S. corporate-bond market is $4.9 trillion.

Some banks are deeply involved. J.P. Morgan Chase, as of March 31, had bought or sold protection on the equivalent of $1.3 trillion of bonds, including both synthetic CDOs and individual credit-default swaps. Bank of America Corp. had bought or sold about $850 billion worth and Citigroup Inc. more than $700 billion, according to the Office of the Comptroller of the Currency. Deutsche Bank AG, whose activity the comptroller doesn't track, is another big player.

Much of that money is riding on Mr. Li's idea, which he freely concedes has important flaws. For one, it merely relies on a snapshot of current credit curves, rather than taking into account the way they move. The result: Actual prices in the market often differ from what the model indicates they should be.

Investment banks try to compensate for the shortcomings of the model by cobbling copula models together with other, proprietary methods. At J.P. Morgan, "We're not stupid enough to believe [the model] is omniscient," said Andrew Threadgold, head of market risk management. "All risk metrics are flawed in some way, so the trick is to use a lot of different metrics." Bank of America and Citigroup representatives said they use various models to assess risk and are constantly working to improve them. Deutsche Bank had no comment.

As with any model, forecasts investors make by using the model are only as good as the inputs. Someone asking the model to indicate how CDO prices will act in the future, for example, must first offer a guess about what will happen to the underlying credit curves -- that is, to the market's perception of the riskiness of individual bonds over several years. Trouble awaits those who blindly trust the model's output instead of recognizing that they are making a bet based partly on what they told the model they think will happen. Mr. Li worries that "very few people understand the essence of the model."

Consider the trade that tripped up some hedge funds during May's turmoil in GM securities. It involved selling insurance on the riskiest slice of a synthetic CDO and then looking to the model for a way to hedge the danger that the default risk would increase. Using the model, investors calculated that they could offset that danger by buying a double dose of insurance on a more conservative slice.

It looked like a great deal. For selling protection on the riskiest slice -- agreeing to pay as much as $10 million to cover the pool's first default losses -- an investor would collect a $3.5 million upfront payment and an additional $500,000 yearly. Hedging the risk would cost the investor a mere $415,000 annually, the price to buy protection on a $20 million conservative piece.

But the model's hedge assumed only one possible future: one in which the prices of all the credit-default swaps in the synthetic CDO moved in sync. They didn't. On May 5, while the outlook for most bond issuers stayed about the same, two got slammed: GM and Ford Motor Co., both of which Standard & Poor's downgraded to below investment grade. That event caused a jump in the price of protection on GM and Ford bonds. Within two weeks, the premium payment on the riskiest slice of the CDO, the one most exposed to defaults, leapt to about $6.5 million upfront.

Result: An investor who had sold protection on the riskiest slice for $3.5 million had a paper loss of nearly $3 million. That's because if the investor wanted to get out of the investment, he would have to buy a like amount of insurance from somebody else for $6.5 million, or $3 million more than he was getting.

The simultaneous investment in the conservative slice proved an inadequate hedge. Because only GM and Ford saw their default risk soar, not the rest of the bond world, the pricing of the more conservative slices of the pool didn't rise nearly as much as the riskiest slice. So there wasn't much of an offsetting profit to be made there by reselling that insurance.

This wasn't really the fault of the model, which was designed mainly to help price the tranches, not to make predictions. True, the model had assumed the various credit curves would move in sync. But it also allowed for investors to adjust this assumption -- an option that some, wittingly or not, ignored.

Because numerous hedge funds had made the same credit-derivatives bet, the turmoil they faced spilled over into stock and bond markets. Many investors worried that some hedge funds might have to dump assets to cover their losses, so they sold, too. (Some hedge funds also suffered from a separate bad bet, which relied on GM's bond and stock prices moving in tandem; it went wrong when GM shares rallied suddenly as investor Kirk Kerkorian said he would bid for GM shares.)

GLG Credit Fund told its investors it lost about 14.5% in the month of May, much of that on synthetic CDO bets. Writing to investors, fund manager Jean-Michel Hannoun called the market reaction to the GM and Ford credit downgrades too improbable an event for the hedge fund's risk model to capture. A GLG spokesman declines to comment.

The credit-derivatives market has since bounced back. Some say this shows that the proliferation of hedge funds and of complex derivatives has made markets more resilient, by spreading risk.

Others are less sanguine. "The events of spring 2005 might not be a true reflection of how these markets would function under stress," says the annual report of the Bank for International Settlements, an organization that coordinates central banks' efforts to ensure financial stability. To Stanford's Mr. Duffie, "The question is, has the market adopted the model wholesale in a way that has overreached its appropriate use? I think it has."

Mr. Li says that "it's not the perfect model." But, he adds: "There's not a better one yet."

Thursday, September 08, 2005

Financial System Risks: The Perfect Storm

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาไปเที่ยวนิวยอร์คมาครับ ไปทริปกินแหลกแบบพี่ biggie กำลังเขียนเล่าเรื่องอยู่ครับ แต่ยังไม่เสร็จเลย โปรดติดตามตอนต่อไปครับ

พอดีไปอ่านเจอบทความใน The Economist เกี่ยวกับความเสี่ยงในตลาดการเงิน เลยเอามาฝากกันอ่านดูเล่นๆ ผมว่าน่าสนใจดีครับ

คุณคนชายขอบ ให้ความกรุณาแปลบทความเป็นภาษาไทยไว้ข้างล่าง (ขออนุญาตแปะไว้ใน entry เดียวกันนะครับ จะได้เก็บคอมเมนต์ไว้ที่เดียว) เชิญติดตามรับชมและรับฟังได้ ณ บัดนี้


[...]

But there’s a bigger issue here. If America could be so ill-prepared for a hurricane hitting what has long been called the Hurricane Coast, what else might we be missing? In this apocalyptic frame of mind, your columnist notes that there has been a recent spate of conferences, journal issues and whole volumes examining whether the financial system might be a tad fragile, should disaster strike.

Can that be right? Asset prices are rising and most measures of investor confidence are reasonably robust. Credit markets shook off the turbulence in May caused by the downgrade of General Motors and Ford. Hedge funds, which were thought to have tied themselves in knots with credit derivatives and convertible bonds, did not have to mount massive firesales of their assets and instead saw net inflows from investors in the second quarter. Corporate defaults remain well below their historical average. And stockmarkets stood up to terrorist attack in London in July.

Yet even the unflappable Bank for International Settlements (BIS) seems uneasy. In its quarterly report released on Monday September 5th, it gives warning that “the complexity of some products and the associated risk-management systems, the growing presence of leveraged players in credit markets and the possibility that investment strategies may be less diverse than anticipated make it difficult to predict how credit markets will function under more stressful conditions.”

And the IMF’s economic counsellor, Raghuram Rajan, puts it all too presciently in a new paper*. While recent changes in the financial system have made it more stable most of the time, they may also have increased the possibility that it will be excessively unstable in really bad times, as well as increasing the chances that really bad times will occur. We will not know how big the risks are, or what to do to mitigate them, until the system has been tested. “The danger,” he writes, “is that before the economy is stress-tested, it will be hit unexpectedly by a perfect storm.”

The argument is that, over the past three decades, financial markets have changed profoundly under the impact of technology, innovation and deregulation. Banks have given way to markets as the main source of financing. At the recent heart of this process is the rapid growth of credit derivatives such as credit-default swaps, which make it easy for lenders to buy insurance against possible non-payment; and collateralised debt obligations, which allow credits to be bundled together and “tranched” to provide different investors with different risks and returns.

All this is broadly good. Risks are now borne by a bigger pool, with pension funds, insurance companies, mutual and hedge funds and others—in the end, mainly the household sector—taking much of the burden from banks. Because risks can be sliced and diced, they are more likely to end up where they belong. And there are now more sophisticated ways than before of measuring and hedging them. This expansion of the economy’s risk-taking capacity has helped firms and individuals (not to mention governments) to raise record amounts of capital at low cost.

But there may be some negatives to this. There is arguably a drift towards greater risk-taking overall, especially when interest rates are low, so the system has not become any safer and may in fact be less safe. Banks now securitise and flog to third parties their plain vanilla mortgages, keeping on their books the more complicated and less liquid assets that are harder to sell. When interest rates spike upwards, asset prices crash or for any other reason lots of investments have to be unwound in a hurry, banks may be looking for liquidity rather than supplying it to others to keep markets orderly.

And another point: investment managers’ pay, unlike that of bank managers, is linked to the volume of money they attract. What better way to attract it than to run extra risks to goose up returns—especially long-tail risks that pay handsomely most of the time in exchange for the remote possibility of a cataclysmic wipe-out? That may be particularly true for hedge-fund managers when interest rates are low and they have to provide absolute returns for investors, not just returns that are better than some benchmark. And it is certainly true for managers struggling to fill funding holes in pension schemes. Small wonder that they are exploring the wilder shores of illiquidity these days, investing in private-equity deals, catastrophe insurance, fine art and the like.

Just as fund managers may try to take sneaky extra risks to stand out on the upside, they are famously prone to herding in order to avoid standing out on the downside—ie, underperforming the others. And when credit is cheap, herding can push up asset prices way beyond any fundamental justification, increasing the risk of a subsequent sharp correction.

All this is just conjecture—but it is conjecture that needs to be tested in order to get the regulatory framework right. For all the newish emphasis on “stress-testing”, both of individual firms and of the financial system generally, there are huge gaps: the BIS is not the only one to point this out. If there is one thing to learn from Hurricane Katrina, it is the importance of being prepared.



*สำหรับบทความของ Raghuram Rajan มีเวอร์ชั่นสั้นๆให้อ่านครับ เป็น speech ที่ไปพูดที่ Jackson Hole คราวที่ Greenspan กล่าว Farewell Speech

หลังจากที่เขียนแย๊บๆไว้ มีคนแปลให้จริงๆครับ เป็นความกรุณาจากคุณคนชายขอบ เชิญอ่านต่อครับ


เจ้าพายุ

Buttonwood [คอลัมนิสต์ของ The Economist คนหนึ่ง – ผู้แปล] ไม่เคยช็อคกับอะไรที่ออกมาจากสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เห็นรูปถ่ายช่วงปี 1960 ที่แสดงรถถังประจันหน้ากับฝูงผู้ประท้วงในการจลาจลกลางกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. รูปถ่ายจากนิว ออร์ลีนส์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาดูเหมือนวันฝันร้ายของกรุงแบกแดด แต่ที่น่าตกใจไม่แพ้กันคือ การกู้ภัยที่ล้มเหลว และคำเตือนของผู้ว่าการรัฐว่า National Guard พร้อมที่จะ "จับตาย" ผู้ก่อการจลาจลและขโมยในเมือง มีน้อยเรื่องที่น่าเศร้ากว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหันอาวุธเข้าใส่พลเมืองของตน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากความบกพร่องของตัวเอง

อย่างไรก็ดี การช่วยเหลือผู้ประสบภัยกำลังบังเกิดผล แม้ว่ามันจะมาถึงช้าก็ตาม ชาวเมืองเกือบทุกคนได้รับการช่วยเหลือให้อพยพออกจากเมืองใต้น้ำแล้ว น้ำมันและแก๊สถูกลำเลียงจากสต็อคฉุกเฉิน การขุดเจาะน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกกำลังเริ่มต้นใหม่ และราคาน้ำมันดิบลดระดับลงจากจุดสูงสุดเมื่อสัปดาห์ก่อน บริษัทประกันยักษ์ใหญ่ ลอยด์แห่งลอนดอน กล่าวว่าความเสียหายเอาประกันนั้น อยู่ในระดับที่บริษัทประกันทั้งหลายรับได้ และการปรับระดับเบี้ยประกันก็น่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจ นักค้าเงินในตลาดซื้อขายล่วงหน้า (futures market) เก็งว่า Federal Reserve จะขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้อย่างมากอีกเพียงครั้งเดียว ผู้เชี่ยวชาญหลายๆ คนชี้ว่ามาตรการฟื้นฟูเมืองจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เมื่อคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ ดูเหมือนผู้เสียหายที่สุดจากภัยพิบัติธรรมชาติร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา อาจไม่ใช่เศรษฐกิจของประเทศ แต่เป็นตัวประธานาธิบดีเอง

แต่เราไม่สามารถไว้ใจการตีความสถานการณ์แบบมองโลกในแง่ดีเช่นนี้ได้ ภาวะน้ำมันแพงเริ่มส่งผลให้การเติบโตทั่วโลกชะลอตัวลง และตอนนี้อุตสาหกรรมน้ำมันของอเมริกาก็ได้รับผลกระทบมหาศาล ผู้บริโภคที่เติมน้ำมันแกลลอนละ $3 เริ่มลดรายจ่ายด้านอื่นๆ ไปแล้ว พายุแคเทอรินาทำให้ประชาชนกว่าหนึ่งล้านคนกลายเป็นผู้ว่างงาน ไม่ไปใช้เงินเล่นในห้างวอลล์มาร์ท และตราบใดที่ท่าเรือในนิว ออร์ลีนส์ยังเป็นอัมพาตอยู่ การขนส่งเมล็ดข้าวและถั่วเหลืองไปทางใต้ และถ่านหินและกาแฟไปทางเหนือตามแม่น้ำมิซซิสซิบปี้ ก็เป็นไปอย่างยากลำบาก บริษัทที่ปรึกษาชื่อ Risk Management Solutions ประเมินว่าพายุแคเทอรินาก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่าหนึ่งแสนล้านเหรียญสหรัฐ

แต่เรื่องนี้มีประเด็นทีใหญ่กว่านั้น ถ้าอเมริกายังไม่สามารถเตรียมรับมือกับพายุเฮอริเคน ที่ถล่มบริเวณที่เรียกกันมานานว่า "ชายฝั่งเฮอริเคน" แล้วละก็ เรากำลังขาดความระวังเรื่องอะไรอื่นอีกหรือเปล่า? ในภาวะใจคอหดหู่เช่นนี้ ข้าพเจ้าสังเกตว่าไม่เร็วๆ นี้มีการประชุม บทความ และหนังสือหลายเล่มที่สำรวจว่า ระบบการเงินมีความอ่อนแอหรือไม่ ในกรณีที่อาจเกิดวิกฤติการณ์ต่างๆ

แต่ความคิดนี้ถูกจริงหรือ? ราคาสินทรัพย์กำลังสูงขึ้น และดัชนีวัดความมั่นใจของนักลงทุนยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ตลาดตราสารหนี้แทบไม่แสดงผลกระทบจากการลดอันดับเครดิตของ General Motors และ Ford กองทุนประเภท hedge funds ซึ่งหลายๆ คนคิดว่าผูกตัวเองจนแก้ไม่ออกเข้ากับตราสารหนี้อนุพันธ์ (credit derivatives) และหุ้นกู้แปลงสภาพ ก็ไม่ต้องเลหลังขายสินทรัพย์ของตัวเอง แถมยังได้เม็ดเงินใหม่จากนักลงทุนในไตรมาสที่สอง สถิติการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทต่างๆ อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตมาก และตลาดหุ้นทั่วโลกก็ไม่ตื่นตระหนกไปกับการก่อการร้ายในลอนดอนเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

แต่ขนาดองค์กรที่หนักแน่นอย่าง Bank for International Settlements (BIS) ยังดูไม่ค่อยสบายใจนัก ในรายงานประจำไตรมาสที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา BIS เตือนว่า "ความซับซ้อนของเครื่องมือทางการเงินบางตัวและระบบป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง, ผู้เล่นที่ใช้หนี้ในสัดส่วนสูงในตลาดตราสารหนี้, และความเป็นไปได้ว่ากลยุทธ์การลงทุนอาจมีรูปแบบที่หลากหลายน้อยกว่าที่คาด ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาว่า ตลาดตราสารหนี้จะทำงานอย่างไรภายใต้สถานการณ์ที่คับขัน"

ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของ IMF คือ Raghuram Rajan เขียนเรื่องนี้ไว้ดุจหยั่งรู้อนาคตได้ในบทความวิชาการล่าสุด แม้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ จะทำให้ระบบการเงินมีความมั่นคงขึ้นมากโดยรวม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจทำให้กรณีที่ระบบการเงินจะสั่นคลอนอย่างมหาศาลในภาวะวิกฤติ และกรณีที่วิกฤตินั้นเกิด มีความเป็นไปได้สูงขึ้นทั้งสองกรณี เราไม่สามารถรู้ได้ว่าความเสี่ยงนี่อยู่ในระดับใด และไม่รู้ว่าเราควรลดความเสี่ยงนี้อย่างไร จนกว่าระบบนี้จะได้รับการทดสอบ "อันตราย," เขากล่าว "อยู่ตรงที่เศรษฐกิจอาจถูกถล่มด้วยเจ้าพายุ ก่อนที่มันจะผ่านการทดสอบ"

เหตุผลของ Rajan คือ ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา ตลาดการเงินเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลภายใต้อิทธิพลของเทคโนโลยี, นวัตกรรมทางการเงิน, และนโยบายการเปิดเสรี ธนาคารพาณิชย์ได้ถูกแทนที่โดยตลาดทุน ที่กลายเป็นแหล่งระดมทุนหลัก หัวใจหลักของกระบวนการนี้คือการเติบโตของตราสารหนี้อนุพันธ์ (credit derivatives) เช่น credit-default swaps ซึ่งอำนวยความสะดวกต่อเจ้าหนี้ในการซื้อประกันความเสี่ยงที่ลูกหนี้จะผิดนัดชำระหนี้ และ collateralised debt obligations ซึ่งทำให้สามารถผูกเงินกู้ต่อบริษัทต่างๆ เข้าด้วยกันได้ และแบ่งขายเป็นส่วนๆ ("tranched") เพื่อขายระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน ให้กับนักลงทุนแต่ละกลุ่ม

เรื่องนี้เป็นผลดีโดยรวมต่อระบบ เพราะทำให้ความเสี่ยงถูกรองรับโดยฐานนักลงทุนที่ใหญ่ขึ้น โดยกองทุนบำเหน็จบำนาญ, บริษัทประกัน, กองทุนรวม, กองทุน hedge funds และอื่นๆ —ซึ่งในที่สุดคือภาคครัวเรือนนั่นเอง— แบ่งเบาภาระหนี้ของธนาคาร เพราะความเสี่ยงทั้งหลายสามารถซอยเป็นส่วนย่อยๆ ได้ มันก็คงกลับไปหาแหล่งที่ควรจะเป็น นอกจากนี้วิธีการวัดและป้องกันความเสี่ยงเหล่านี้ก็มีพัฒนาการไปไกลกว่าเดิมมาก การขยายตัวของความสามารถในการรองรับความเสี่ยง (risk-taking capacity) ของระบบเศรษฐกิจ เอื้ออำนวยให้บริษัทต่างๆ และบุคคลธรรมดา (ยังไม่นับรัฐบาลต่างๆ) สามารถระดมทุนในต้นทุนต่ำ ได้เป็นประวัติการณ์

แต่พัฒนาการดังกล่าวอาจมีผลกระทบในแง่ลบ ดูเหมือนผู้เล่นในระบบการเงินจะมีพฤติกรรมแสวงหาความเสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะในภาวะดอกเบี้ยต่ำ ดังนั้นระบบการเงินไม่ได้ปลอดภัยขึ้น แต่อาจปลอดภัยน้อยลงด้วยซ้ำ ธนาคารปัจจุบัน securitise พอร์ตสินเชื่อบ้านของตนออกไปให้บุคคลที่สาม เหลือสินทรัพย์ที่มีความซับซ้อนมากกว่า และสภาพคล่องต่ำกว่า ไว้ในบัญชีตัวเอง เมื่อดอกเบี้ยพรวดสูงขึ้น ราคาสินทรัพย์ดิ่งลงเหว หรือเกิดเหตุอะไรก็ตามที่ทำให้ต้องขายพอร์ตลงทุนเป็นการด่วน ธนาคารเหล่านี้อาจกลายเป็นผู้ต้องการสภาพคล่อง แทนที่จะเป็นผู้ให้สภาพคล่องเพื่อพยุงตลาดให้อยู่ในระเบียบ

อีกประเด็นหนึ่ง: ผลตอบแทนของผู้จัดการการลงทุน เชื่อมโยงกับมูลค่าเม็ดเงินที่เขาหามาได้ ไม่เหมือนเงินเดือนของผู้จัดการธนาคาร มีวิธีใดเล่าที่จะดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุน ได้ดีเท่ากับการลงทุนที่เสี่ยงมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงๆ — โดยเฉพาะความเสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงลิบลิ่ว แลกกับความเป็นไปได้ที่น้อยมากๆ ว่าระบบการเงินจะเกิดวิกฤติ? คำอธิบายนี้อาจใช้ได้ดีสำหรับผู้จัดการ hedge fund ในภาวะดอกเบี้ยต่ำ ที่ต้องทำกำไรอันยอดเยี่ยมให้กับนักลงทุน ไม่ใช่แค่ผลตอบแทนที่ดีกว่าบรรทัดฐานบางอัน นี่ก็น่าจะเป็นพฤติกรรมของผู้จัดการที่พยายามดิ้นรนที่จะอุดช่องโหว่ในกองทุนบำนาญ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่คนเหล่านี้ ออกสำรวจลู่ทางการลงทุนสภาพคล่องต่ำทั้งหลาย เช่น private equity, การประกันภัยธรรมชาติร้ายแรง, งานศิลปะแพงๆ ฯลฯ

ในขณะที่ผู้จัดการการลงทุนเหล่านี้ อาจกำลังพยายามเพิ่มความเสี่ยงอย่างลับๆ เพื่อหวังผลตอบแทนอันงดงามหากทุกอย่างไปได้ดี เขาเหล่านี้ก็มักกอดคอกันลงทุนเป็นฝูง (herding) เพื่อลดความเสี่ยงที่จะดูแย่อยู่คนเดียวหากสถานการณ์ไม่ดี นั่นคือ ทำผลงานได้แย่กว่าผู้จัดการคนอื่นๆ ในภาวะที่ตราสารหนี้มีราคาถูก พฤติกรรมเช่นนี้อาจกระตุ้นให้ราคาสินทรัพย์ถีบตัวสูงขึ้น เกินระดับที่อธิบายได้โดยปัจจัยพื้นฐาน เป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่ราคาสินทรัพย์จะปรับตัวอย่างเฉียบพลันภายหลัง

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการคาดคะเน— แต่ก็เป็นการคาดคะเนที่จำเป็นต้องมีการทดสอบ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างการกำกับดูแลให้ถูกต้อง ความสนใจสมัยใหม่ต่อการ "ทดสอบความตึง" (stress-testing) ทั้งในระดับบริษัทและระบบการเงินโดยทั่วไป ยังมีช่องโหว่อยู่มาก: BIS ไม่ใช่องค์กรเดียวที่เห็นเช่นนี้ ถ้าเราได้บทเรียนอะไรจากพายุแคเทอรินา บทเรียนนั้นคือ ความสำคัญของการเตรียมพร้อม

Thursday, September 01, 2005

พายุ

หลายๆคนคงได้ฟังข่าวพายุ hurricane Katrina ขึ้นฝั่งที่ตอนใต้ของสหรัฐอเมริกากันแล้ว เจ้าพายุลูกนี้เป็นพายุ hurricane ที่รุนแรงที่สุดและทำความเสียหายให้กับอเมริกามากที่สุดในรอบหลายปีเลยทีเดียว

ใครดูข่าวช่วงนี้คงเห็นร่องรอยความเสียหายที่เกิดจากพายุ ทั้งบ้านที่โดนพัดหายไปทั้งหลัง ระดับน้ำท่วมสูงเท่าหลังคา ตึกที่โดนพายุพัดกระจกแตกทั้งหลัง รถยนต์ที่จมอยู่ใต้น้ำ เมืองหลายๆเมืองแทบจะกลายเป็นเมืองร้าง แม้แต่หลังคา Superdome ที่เคยใช้แข่ง Super Bowl ยังโดนพัดทะลุเลยครับ คนแสนกว่าไม่มีที่อยู่หรือกลับเข้าบ้านตัวเองไม่ได้ จนต้องหา shelter อยู่ และกว่า 2 ล้านคนไม่มีไฟฟ้าใช้

จนคนที่นี่เขาบอกว่านี่แหละ คือ tsunami ของอเมริกา

แม้พายุจะผ่านไปแล้ว แต่ความเสียหายยังไม่หมดครับ เพราะทางตอนใต้ของอเมริกา พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล พายุทำให้เขื่อนที่กั้นแม่น้ำและทะเลสาบพัง และน้ำที่ทะลักเข้ามาเกินกว่าที่เครื่องสูบน้ำจะสูบออกได้ เมือง New Orleans ทั้งเมืองเลยกลายเป็นเมืองบาดาลไป คาดว่าจะต้องใช้เวลาเป็นเดือนกว่าระดับน้ำจะแห้ง ระหว่างนี้คนที่อาศัยอยู่แถวๆนั้นต้องกลายเป็นผู้อพยพจำเป็น ต้องเดินทางข้ามรัฐเพื่อหลบภัย และยังไม่รู้ว่าเมื่อไรถึงจะกลับเข้าบ้านได้

เรียกได้ว่าเป็นปฏิบัติการกู้ภัยครั้งใหญ่ที่สุดของอเมริกาเลยทีเดียว สิ่งที่น่าเป็นห่วงขณะนี้คือโรคระบาด และวิธีที่จะเอาความช่วยเหลือทั้งน้ำสะอาด อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เข้าไปให้ หลายคนยังไม่รู้เลยว่าจะนอนที่ไหน และก็เริ่มมีคนบ่นว่าทำไมความช่วยเหลือสักที และก็เริ่มมีคนเสียชีวิตระหว่างอยู่ใน "ค่ายอพยพ"แล้วครับ ดูข่าวแล้วก็เศร้าแทนครับ

นอกจากนั้น เจ้าพายุยังทำให้ราคาน้ำมันในอเมริกาพุ่งกระฉูด จากที่แพงอยู่แล้ว ตอนนี้เห็นป้าย $3 ต่อ gallon แล้วครับ ซี๊ด

พอมีภัยธรรมชาติ สิ่งที่ตามมาก็คือพวกฉวยโอกาส ปล้นสะดมร้านค้า เพราะตำรวจไม่มีปัญญาจัดการ คิดดูว่า ผู้ว่าการรัฐถึงกับต้องสั่งให้ตำรวจที่ช่วยอยู่ในภารกิจค้นหาและช่วยเหลือผู้รอดชีวิต หันกลับมาดูแลความสงบในเมืองแทน แทนที่จะสามารถทุ่มเททรัพยากรในการค้นหาผู้รอดชีวิต กลับต้องมาพะวงกับพวกเลวๆ พวกนี้อีก และมีข่าวว่าเกิดความวุ่นวายระหว่างการอพยพและช่วยเหลือ ขนาดโรงพยาบาลยังโดนคนเข้าไปขโมยของเลย

ไม่รู้เพราะว่าคนที่นี่โหดกว่าเมืองไทยหรือเปล่า แต่ผมว่าตอนเมืองไทยโดน tsunami ยังไม่มีเหตุการณ์รุนแรงขนาดนี้เลย และการช่วยเหลือก็ดูเหมือนจะราบรื่นกว่านี้นะ

ภัยพิบัติแบบนี้ เกิดขึ้นทีนึงก็ทำความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ดีแต่ว่าคนเราสามารถพยากรณ์การเกิดพายุ hurricane ได้อย่างค่อนข้างแม่นยำ และล่วงหน้าพอที่จะอพยพคนออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยได้ทัน ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตไม่สูงเหมือนเวลาเกิดแผ่นดินไหว หรือ tsunami แบบบ้านเรา แต่ถึงอย่างนั้น มีการคาดการณ์ว่ายอดผู้เสียชีวิตอาจพุ่งสูงถึงพันคนเอาได้ง่ายๆ เพราะระหว่างนี้ระดับน้ำสูง หน่วยกู้ภัยยังไม่สามารถเข้าไปตรวจดูในบ้านคนที่คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตติดอยู่ได้ เศร้าครับ

ก็ขอให้น้ำลดเร็วๆ และกลับเข้าบ้านได้เร็วๆแล้วกันครับ แม้บางคนบ้านจะหายไปแล้วก็เหอะ


พอได้ยินชื่อ Katrina นี้ตลอดวัน หลายๆคนต้องสงสัยแน่ๆว่า Katrina นี่มันใครกันนะ แล้วเจ้าพายุ hurricane นี่มันเกิดได้อย่างไร แล้วมันต่างกับพายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น พายุไซโคลน ที่เราได้ยินกันบ่อยๆยังไง

จริงๆแล้วเจ้าพายุที่กล่าวมาทั้งหลายเนี่ย เกิดจากสาเหตุเดียวกัน คือความแตกต่างของอุณหภูมิและความกดดันอากาศ บวกกันความชื้นจากทะเล เมื่อพายุเริ่มก่อนตัวในทะเลเขตร้อน อากาศร้อนชื้นจากผิวน้ำทะเล (ส่วนใหญ่เกิดจากทะเลใกล้เส้นศูนย์สูตร) ซึ่งมีความกดอากาศต่ำ ลอยตัวสูงขึ้น ทำให้อากาศเย็น ซึ่งความกดอากาศสูงพัดเข้ามาแทนที่ (ไปดูภาพประกอบได้ที่นี่ครับ)

พอพายุก่อตัวได้ที่ ถ้าความเร็วลมไม่ถึง 39 mph ก็จะได้ชื่อว่าเป็น พายุดีเปรสชั่น (tropical depressions) ที่ได้ยินกันบ่อยๆตอนดูพยากรณ์อากาศ พอความเร็วลมสูงสุดเกิน 39 mph แต่ไม่เกิน 74 mph เจ้าพายุก็จะถูกจัดชั้นว่าเป็นพายุโซนร้อน (tropical storm) ครับ และก็จะได้ "ชื่อ" เอาไว้เรียกกันครับ และชื่อนี้ก็จะต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของโลก

พอความเร็วลมสูงสุดของพายุเกิน 74 mph ก็จะเรียกว่าเป็น tropical cyclone หรือพายุหมุนเขตร้อน ครับ แต่จะเรียกชื่อต่างกันไป ตามแต่บริเวณที่เกิดครับ ถ้าเจ้าพายุหมุนนี้เกิดแถวๆมหาสมุทร atlantic และทางตะวันออกของเส้นแบ่งวันในมหาสมุทร pacific จะเรียกว่า hurricane แต่ถ้าเกิดแถวๆบ้านเรา ในมหาสมุทร pacific และทะเลจีนใต้ ก็จะเรียกว่าไต้ฝุ่นครับ

กลับมาที่เรื่อง "ชื่อ" ของพายุครับ พายุโซนร้อน ที่เกิดในมหาสมุทร Atlantic จะใช้ชื่อคนเรียงกันไปจาก A ถึง Z และจะเอากลับมาใช้ซ้ำทุกๆ 6 ปี แต่ถ้าพายุลูกไหนเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น พายุ hurricane Andrew ตอนปี 92 หรือ hurricane Isabel เมื่อปี 2003 ชื่อพายุเหล่านี้ก็จะถูก "retired" และเอาชื่ออื่นมาแทนตัวอักษรตัวนั้น ผมแน่ใจว่า Katrina ก็ต้องโดน retired แน่ๆ โหดซะขนาดนี้

สมัยก่อนที่จะมีระบบการตั้งชื่อ hurricane เขาเรียก hurricane ตาม saint ของวันที่พายุขึ้นฝั่ง หรือไม่ก็ใช้ latitude-longitude แต่มันสับสนไปหน่อย เขาก็เลยตั้ง "ชื่อ" ให้พายุซะเลย ทำให้การสื่อสารรวดเร็วและชัดเจนขึ้น แรกๆก็ใช้แต่ชื่อผู้หญิง แต่ภายหลังก็ใช้ชื่อผู้ชายด้วย จะได้เท่าเทียมกัน

ส่วนพายุแถวบ้านเราก็มีชื่อนะครับ (จำได้ไหมครับ "พายุเกย์" ที่พัดเข้าที่ประจวบฯเมื่อหลายปีก่อน) แต่อาจจะไม่ใช่ชื่อคน แต่เป็นชื่อที่แต่ละประเทศแถวๆนี้เสนอให้เอามาใช้ ลองไปดูชื่อแต่ละชื่อสิครับ เท่กว่าชื่อคนเป็นไหนๆ

ส่วน Tornado นี่ต่างไปจากพายุหมุนเขตร้อนอื่นๆครับ tornado เป็นพายุหมุนที่เกิดจากพายุฝนฟ้าคะนอง คือประมาณว่า มันไม่ได้หมุนมาแต่ไกลแบบ hurricane แต่อยู่ดีๆ มันก็ touchdown แบบในหนังเรื่อง twister ยังไงยังงั้น
ส่วนใหญ่เกิดในทวีปอเมริกาเหนือ ผมไม่แน่ใจว่าเกิดที่อื่นด้วยหรือเปล่า ใครสนใจไปอ่านเพิ่มได้ที่ NOAA ครับ

พวกพายุเหล่านี้เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพราะโลกหมุนและโลกเอียง แต่ก็เริ่มมีคนถามกันแล้วว่าที่เราเจอพายุโหดๆบ่อยๆนี่เกี่ยวอะไรกับปรากฎการณ์โลกร้อนขึ้นหรือเปล่า อืม น่านะคิดครับ