Monday, July 04, 2005

Debate: The End of Poverty?

คุณ corgiman เขียนถึง concert ช่วยเหลือประเทศยากจนในแอฟริกามาสองสามตอนแล้ว ทำให้ผมนึกถึง debate เกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อสักสามสี่เดือนก่อน ตอนที่ Jeffrey Sachs ตีพิมพ์หนังสือของเขาชื่อ "The End of Povery: Economic Possibilities for Our Time" ที่เพื่อนซี้ของเขา Bono แห่งวง U2 เขียนคำนิยมให้ซะด้วย

เนื้อหาในหนังสือดังกล่าว อธิบาย The Big Plan ในการช่วยเหลือประเทศแอฟริกา โดยให้ประเทศร่ำรวยทุ่มเงินลงไปเพื่อสร้าง infrastructure ทางเศรษฐกิจ

หนังสือดังกล่าวถูกโจมตีจาก William Easterly ว่าฝันเฟื่อง ทำไม่ได้หรอก เพราะที่ผ่านมาหลายปี ประเทศเหล่านี้ก็ทุ่มเงินไปไม่รู้เท่าไร ความยากจนก็ไม่ได้หายไป

Jeffrey Sachs ก็เขียนจดหมายตอบ ลองไปอ่านกันดูนะครับ

ผมแน่ใจว่า debate เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับนักเศรษฐศาสตร์สองคนนี้เท่านั้น

ความยากจนมีอยู่จริงในแอฟริกา คนจำนวนมากกำลังล้มตายเพราะไม่มีอาหารจะกิน คนเหล่านี้ควรได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

แต่หลายคนก็ตั้งคำถามถึงการช่วยเหลือประเทศที่ยากจน ว่าควรทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุด ประเทศเหล่านี้มีศักยภาพในการ absorb ความช่วยเหลือขนาดไหน และการช่วยเหลือจะเป็นการ "ช่วยเหลือ" หรือ "ทำร้าย" ประเทศเหล่านี้กันแน่ ผมว่าน่าคิดนะครับ เพราะคำถามว่าความช่วยเหลือส่งไปที่ไหน และอย่างไร น่าจะสำคัญพอๆกับว่า เราควรจะส่งความช่วยเหลือไปเท่าไร

คุณละครับ คิดว่าไง?




ไม่นานมานี้ผมคุยกับเพื่อนที่เพิ่งจะกลับจากประเทศ "กาบอง" ซึ่งเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดประเทศหนึ่งในแอฟริกา เพราะมีน้ำมันดิบ เพื่อนผมเล่าให้ฟังว่า ของกินเกือบทุกอย่างต้องนำเข้าจากฝรั่งเศส ทำให้ค่าครองชีพแพงยิ่งกว่าฝรั่งเศสอีก เพราะคนที่นี่ไม่ผลิตอะไรเลย (ผมไม่แน่ใจว่าพื้นที่แห้งแล้งจนปลูกอะไรไม่ได้ หรือไม่มี incentive ที่จะทำอะไร)

ผมก็เลยสงสัยว่า เอ๊ะ แล้วเขาทำงานอะไรกัน เพื่อนผมบอกว่า ไม่ทำอะไร เป็น "civil servants" กันหมด (!)

อืมแปลกดี น่าสนใจนะครับ ขนาดประเทศร่ำรวยยังเป็นอย่างนี้ แล้วประเทศจนๆจะทำยังไง

6 Comments:

At 10:30 PM, Blogger The Corgiman said...

ผมเคยคิดเสมอว่า ทฤษฎี ต้องนำนโยบาย

ก่อนดำเนินนโยบายต้องมีทฤษฎีและหลักฐานทางการศึกษาเชิงประจักษ์ สนับสนุนก่อน

แต่ในกรณีของประชาชนที่ใกล้ตาย ไม่มีอะไรกิน แบบในประเทศเอธิโอเปีย ผมคิดว่า เราช่วยก่อน แล้วค่อยหาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์หรืองานวิจัยมาตอบคำถามทีหลัง

คิดดูสิครับ ว่า ยี่สิบปีผ่านมา เรารอบรู้อะไรมากขึ้นบ้างเกี่ยวกับ Economics of Poverty เราพบหนทางยุติปัญหาความยากจนหรือยัง

แต่เงินบริจาคที่บ๊อบ เกลดอฟหาได้และนำไปช่วยเด็กในเอธิโอเปีย นั้นช่วยให้เด็กคนนึงที่มีสภาพใกล้ตายเมื่อยี่สิบปีก่อนเติบโต และมีชีวิตรอดมาได้ถึงวันนี้

กุศโลบายของผมในวันนี้คือ ช่วยชีวิตก่อน แล้วเราค่อยแสวงหาคำตอบทีหลัง...

 
At 11:01 PM, Blogger David Ginola said...

ผมยังคงเอนเอียงไปทาง Sachs ครับ

ผมเคยเขียนถึงปัญหาของประเทศแอฟริกาไปแล้วในบล็อกของผม ผมว่าปัญหาที่สำคัญอยู่ที่ geography มากกว่า เพราะ

หนึ่ง หลายประเทศไม่มีทางออกทางทะเล ประวัติศาสตร์สอนให้เราเห็นว่า ทางออกทางทะเลเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาอุตสาหกรรม

ดูอย่างประเทศในเอเชีย การพัฒนาอุตสาหกรรมในไทย จีน เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย สิงคโปร์ ฯลฯ ต่างก็เริ่มที่เมืองท่าทั้งนั้น ทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถดูดซับแรงงานจากภาคเกษตรที่ยากจนเข้ามาทำงาน ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก (ซึ่งก็ต้องอาศัยการขนส่งทางเรือจากเมืองท่า) ทำให้เศรษฐกิจและรายได้เริ่มต้นพัฒนาได้

สอง แม่น้ำในกาฬทวี่ปก็ less navigable than Asian rivers

สาม Africa is more prone to Malaria than Asia because of diffrences in mosquitoe types found in the two continents

สี่ แอฟริกามีลักษณะภูมิประเทศแตกต่างกับเอเชีย เอเชียมีที่ราบลุ่มแม่น้ำ floodplains ที่อุดมสมบูรณ์ แต่แอฟริกาเป็นเนินเขา ทุ่งหญ้า นอกจากนี้เอเชียยังมีภูมิอากาศที่เอื้อต่อการเกษตรมากกว่าเพราะมีมรสุม (monsoon)พัดผ่าน นำพาน้ำฝนมาให้ แต่แอฟริกาไม่มีมรสุม ทำให้ more prone to droughts

ฯลฯ

เมื่อ geography เป็นอย่างนี้ บวกเข้ากับโรคร้ายต่างๆที่แพร่ระบาดในแอฟริกา ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจไม่เกิดขึ้น ไม่มีใครอยากมาลงทุนที่นี่ เมื่อเศรษฐกิจไม่เติบโต รายได้ก็ไม่เพิ่มขึ้น ก็ไม่สามารถลงุทุนสาธารณูปโภคต่างๆได้ ก็เกิดเป็นวงจรอุบาทว์ กับดักความยากจนหรือ poverty trap เช่นนี้เรื่อยไป

Sachs' Plan ก็เน้นที่จะแก้ปัญหาด้านสาธารณสุข การคมนาคม และการศึกษา โดน Sachs จะเน้นมากว่าต้องทำให้เป็นระบบ โดนอาศัย expertise from UN agencies, World Bank เข้ามา

คือต้องส่งทีมงานเข้าไปในแต่ละพื้นที่ แล้วศึกษาถึงปัญหา แล้วก็ทำแผนเสนอทางแก้ พร้อมทำ budgeting ให้เรียบร้อย ให้โปร่งใส แล้วจึงไปเอาเงินมาทำ

ที่ Easterly ตอบโต้ว่าในอดีต foreign aid was wasted นั้น (เค้าเคยเขียนไว้อย่างละเอียดใน chapter หนึ่งของหนังสือ the elusive quest for growth ของเขา) ก็คงจริง แต่ผมคิดว่าในอดีต aid มันมา แต่คงไม่ได้มี specific plan ที่ดีรองรับ ทำให้เงินมันสูญเปล่าไปมาก ผมคิดว่าอย่างนั้นนะครับ แต่ก็ไม่มีข้อมูล

อีกอย่างก็คือ aid ในอดีตมันก็น้อยไปเสียด้วย ทาง Sachs และ Earth institute ได้ประมาณไว้ว่าการจะกำจัด extreme poverty นั้นจะต้องใช้เงินประมาณ 150 billion ซึ่งก็ไม่เกิน 0.7% ของ gnp ซึ่งเป็น target ที่ประเทศร่ำรวย "สัญญา" ว่าจะให้ประเทศยากจน แต่ตอนนี้ประเทศร่ำรวยโดยเฉลี่ยให้แค่ 0.25% ของ gnp เท่านั้นเอง

สรุปแล้วผมคิดว่า plan ของ Sachs นั้นทำได้ สามารถลดการแพร่ระบาดของมาลาเรียได้ สามารถทำให้ดินกลับมามีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ใหม่ได้ สามารถพัฒนาระบบขนส่งคมนาคมได้ ทำให้ผู้คนแอฟริกามีชีวิตที่ดีขึ้นได้

เมื่อคนมีสุขภาพที่ดีขึ้น และเมื่อดินดีขึ้น พวกเขาก็คงสามารถเพาะปลูกได้ผลผลิตดีขึ้น เมื่อถนนดีขึ้น พวกเขาก็สามารถเดินทางโดยใช้ถนนเพื่อนำผลผลิตไปขายได้ มีรายได้ มีการออม เศรษฐกิจก็จะเริ่มเติบโต เพราะเกิด markets ขึ้น

(ตอนนี้ markets มันมีน้อย ค้าขายกันลำบาก เพราะการคมนาคมไม่ดี แถมคนเป็นโรค แถมดินหมดแร่ธาตุ ผลผลิตเหลือขายก็ไม่มี ผลผลิตแทบจะไม่พอกินเองในครอบครัวด้วยซ้ำ นี่คือเหตุผลว่าทำไม market-oriented reforms มันไม่เวิร์ค เพราะ markets dont exist in these areas!)

ผมคิดว่าเราสามารถทำได้ถึงจุดนี้ คือพาแอฟริกาก้าวขึ้นสู่บันไดขั้นแรกของการพัฒนาเศรษฐกิจ ให้เกิดตลาดค้าขายขึ้น domestically ก่อน

แต่ขั้นต่อๆไปของแอฟริกานั้น ผมว่ามันไม่ง่ายเลย จะทำอย่างไรให้ประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเลสามารถส่งออกค้าขายกับต่างประเทศได้??? ข้อจำกัดทาง geography จะยังคงมีอยู่...

ผมว่ามันยากนะ ยากกว่าประเทศเอเชียแน่นอน เพราะไม่มีเมืองท่า... จะทำอย่างไรให้เกิดอุตสาหกรรมการส่งออกที่จะดูดซับแรงงานจากภาคเกษตรเข้ามา? ถ้าไม่สามารถดูดซับแรงงานจากภาคเกษตรเข้ามา เศรษฐกิจก็จะไม่เติบโตต่อเนื่อง...

คงต้องดูประเทศลาวเป็นตัวอย่างนะครับ ผมไม่มีความรู้เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของลาว ซึ่งเป็น landlocked country รู้แต่ว่ากำลังมีโครงการสร้างเขื่อนใหญ่เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อส่งออก รู้สึกว่าการส่งออกไฟฟ้าเป็นตัวนำรายได้เข้าประเทศที่สำคัญของลาว

อืม.. แอฟริกาจะทำอย่างไรดี? เอาเป็นว่าตอนนี้ผมว่าเอาแค่ขั้นแรกให้ได้ก่อนดีกว่า ซึ่งขั้นแรกนี้ผมมองไม่เห็นหนทางอื่นเลยนอกจาก foreign aid with specific, transparent, scientific plans

ท่านอื่นๆคิดอย่างไรกันบ้างหรือครับ?

อ้อ จริงๆแล้วมีหนังสืออีกเล่มที่น่าอ่านชื่อ growth and empowerment: making development happen เขียนโดย nicholas stern ครับ

 
At 11:14 PM, Blogger David Ginola said...

ผมชอบที่ corgiman เขียนครับ

ช่วยชีวิตก่อน ทฤษฎีไว้ค่อยว่ากันทีหลัง

เห็นด้วยอย่างแรง

มีอีกเรื่องที่ผมลืมเขียนคือเรื่อง absorbed capacity ที่หลายคนเป็นห่วง ว่าประเทศแอฟริกามีความสามารถในการ absorb ความช่วยเหลือได้ขนาดไหน

Sachs เองก็เขียนและพูดไว้ว่า ประเทศแอฟริกามี capacity อยู่มาก โดยเขาไม่ได้ยกเอางานวิจัยเชิงประจักษ์มาอ้าง แต่เขาได้ยกตัวอย่างหมู่บ้านหลายแห่งที่เขาเดินทางไปดู

ปรากฎว่าในหมู่บ้านเหล่านี้มีหมอและพยาบาลอยู่ มีอาสาสมัครที่พร้อมจะช่วยเหลืออยู่ แต่ไม่มีอุปกรณ์ ไม่มียา ไม่มีเตียงคนไข้ ฯลฯ พอคนป่วยมา พวกหมอก็ไม่รู้จะช่วยอย่างไร เพราะไม่มียา...

Sachs จึงบอกว่า เนี่ย มันมี capacity อยู่นะ มีบุคลากรอยู่นะ แต่ขาดเครื่องมือเครื่องใช้ ต้องการ aid เพื่อซื้อยา ซื้ออุปกรณ์ต่างๆ...

ผมว่าแผนของ sachs น่าจะเวิร์ค มันอาจจะไม่เวิร์คก็ได้ แต่ก็น่าลองทำดู เพราะหนึ่ง ผมไม่เคยหนทางอื่นที่ดูเข้าท่ากว่า และสอง เงินที่ใช้ก็เล็กน้อยมากๆ (แค่ 0.7% of GNP of rich countries)

by the way, เมื่อวานซืนก็เพิ่งมีคอนเสิร์ตช่วยคนจนแอฟริกาอีกครั้งหนึ่งนะครับ ชื่อว่า LIVE 8 จงใจจัดขึ้นก่อนการหารือ G8 ซึ่งจะคุยกันถึงเรื่องการช่วยเหลือแอฟริกา... คอนเสิร์ตครั้งนี้ก็จัดยิ่งใหญ่ มีนักร้องดังๆมากันครบ ทั้ง bono, madonna... คอนเสิร์ตก็จัดกันหลายจุดพร้อมกันทั่วโลก เห็นว่ามีคนดูรวมกันที่เวทีรวมกันหนึ่งล้านคน แต่ที่อเมริกาไม่ค่อยมีถ่ายทอดสด...

 
At 11:17 PM, Blogger David Ginola said...

ขออีกนิดนะครับ

คือพูดถึงความยากจนในแอฟริกาแล้ว ผมก็อดนึกถึงคนจนในเมืองไทยไม่ได้

ความยากจนที่นู่นกับที่นี่มันแตกต่างกัน

คนจนส่วนใหญ่ในเมืองไทยอาจจะไม่ได้ถึงขึ้น extreme แต่ก็ลำบากไม่น้อย

ผมเองไม่มีความรู้เรื่องความยากจนในเมืองไทยเท่าไหร่ เลยอยากเห็นพี่ๆชาวบล็อกเกอร์สนทนากันเรื่องปัญหาความยากจนในเมืองไทยและทางแก้กันบ้างครับ

 
At 12:50 AM, Blogger pin poramet said...

corgiman โฉมใหม่

Corgiman ไม่ใช่สัตว์เศรษฐกิจ !!!

 
At 11:04 AM, Blogger kickoman said...

โห blog นี่มันสนุกอย่างนี้นี่เอง

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ว่า extreme poverty requires immediate and extreme aid.

แต่ความช่วยเหลือทั้งหลายต้องทำอย่างโปร่งใส และไปถึงคนยากจนจริงๆ

ปัญหาความยากจนของแอฟริกานี่ผมว่ายากมากครับ แล้วผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับทวีปนี้ นอกไปจากที่อ่านๆมา ส่วนตัวแล้วผมว่ามันเกิดจาก a series of unfortunate events ครับ คือปัญหาหลายอย่างประดังกันเข้ามา

ทั้งด้านภูมิศาสตร์อย่างที่คุณ ginola ว่ามาครับ พื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง โดยเฉพาะตรงกลางทวีป เพาะปลูกลำบาก

(แต่ขอแย้งนิดนึงว่า อย่าลืมว่าทวีปแอฟริกามีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์มากนะครับ ประเทศที่ติดทะเลก็มีเยอะ แม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ก็มี (บ้าง) บางประเทศมีทรัพยากรธรรมชาติเยอะ ทั้งน้ำมันดิบ เพชร ทอง หลายประเทศมี gdp per capita เยอะกว่าเมืองไทยอีก แต่คนจนก็ยังเยอะอยู่ดี

เรื่องโรคนี่ ผมว่า ไม่ใช่ว่ารักษายากกว่ามั้งครับ คงเป็นเพราะไม่ได้รับความสนใจในการทำวิจัยมากกว่า อย่าลืมว่าโรคเขตร้อนในเมืองไทยนี่เมืองนอกก็ไม่มีนะครับ แต่เมืองไทยโชคดีที่ได้รับความช่วยเหลือมาก มีการทำวิจัยอย่างจริงจัง คิดดูว่าฝรั่งยังต้องบินมาเมืองไทยเพื่อศึกษาโรคมาลาเลีย และระบบสาธารณสุขค่อนข้างดี)

ปัจจัยที่สำคัญอีกอันคืออิทธิพลจากการล่าอาณานิคม และวิธีการที่ชาวตะวันตกกระทำต่อชาวแอฟริกานี่แตกต่างจากเมืองอาณานิคมอื่น (สังเกตได้ว่าชาวยุโรปไม่ได้เอาคนผิวเหลืองไปเป็นทาส) และชาติตะวันตกก็ไปสร้างปัญหาหลายอย่างให้ประเทศเหล่านี้ (ดูเรื่อง hotel rwanda กันยังครับ)

แต่มีข้อสังเกตว่า ทวีปแอฟริกาไม่ได้โดนคำสาปไปทั้งทวีปหรอกครับ คิดดูประเทศแอฟริกาใต้เป็นประเทศที่เจริญมากเพราะเป็นเมืองท่าที่สำคัญ แต่คนส่วนใหญ่กลายเป็นคนขาวไปหมดแล้ว

อย่างที่คุณ ginola บอก เมื่อไม่มีอาหารจะกิน โดนรังแก แล้วยังไม่ได้รับความช่วยเหลืออีก โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ รวมถึง การสาธารณสุข การศึกษา การคมนาคม และระบบสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็งก็ไม่เกิด

เรียกว่าเข้าสู่วงจรอุบาทว์ โง่ จน เจ็บ แล้วยังโดนโกงอีก

ยังงี้จะเหลืออะไรละครับ

ทีนี้สิ่งที่ยากกว่าคือจะทำไงให้มีคนแอฟริกามีอาหารกินในระยะสั้น และสามารถหลุดจากวงจรอุบาทว์แห่งความยากจนนี้ได้ในระยะกลาง และสามารถพัฒนาตัวเองได้ในระยะยาว

ผมว่านอกจากจะมีเงินช่วยเหลือที่เยอะมากๆแล้ว ยังต้องมีการวางแผน และควบคุมการใช้เงินช่วยเหลือที่เหมาะสมด้วยครับ นี่แหละเรื่องยากของจริง

ผมชอบที่ corgiman ชี้ว่า ประสบการณ์ที่ผ่านมาบอกว่าเราแทบจะไม่ได้รู้อะไร เกี่ยวกับความยากจนเลย

 

Post a Comment

<< Home